รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ/ความสำเร็จ ‘ฟีดอร์’ หุ่นยนต์อวกาศ อาวุธแบบใหม่หรือหุ่นยนต์ช่วยเหลือฉุกเฉิน

รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ

https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

ความสำเร็จ ‘ฟีดอร์’ หุ่นยนต์อวกาศ

อาวุธแบบใหม่หรือหุ่นยนต์ช่วยเหลือฉุกเฉิน

านอวกาศไร้คนขับ “โซยุซ เอ็มเอส-14” กับความสำเร็จในภารกิจการเชื่อมต่อเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากความพยายามในการเชื่อมต่อล้มเหลวเมื่อช่วงกลางเดือน

ทั้งนี้ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซ่า) ของสหรัฐออกมายืนยันความสำเร็จในการเชื่อมต่อเป็นครั้งที่ 2 ของยานโซยุซ ที่บินขึ้นไปพร้อมกับหุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ตัวแรกของรัสเซีย “ฟีดอร์”

หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ชื่อ “ฟีดอร์” ย่อมาจาก Final Experimental Demonstration Object Research มีหมายเลขประจำตัวคือ Skybot F850

เป็นหุ่นยนต์ตัวแรกที่รัสเซียส่งขึ้นสู่อวกาศ

หุ่นยนต์ตัวนี้ขึ้นไปกับยานอวกาศโซยุซ เอ็มเอส-14 (Soyuz MS-14) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม เวลา 06.38 นาฬิกา ตามเวลากรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ตรงกับเวลา 10.38 น. ของประเทศไทย

การปล่อยยานครั้งนี้ส่งหุ่นยนต์ขึ้นไปแทนนักบินอวกาศบนยานโซยุซ เพื่อต้องการทดสอบระบบกู้ภัยฉุกเฉินใหม่ โดยที่ยานโซยุซได้ออกจากศูนย์ปล่อยอวกาศยานไบโคนูร์คอสโมโดรม (Baikonur cosmodrome) ของรัสเซียในประเทศคาซัคสถาน

ก่อนที่จะนำยานอากาศขึ้นได้ยินการเปล่งเสียง “ไปกันเถอะ” เป็นการพูดของหุ่นยนต์ “ฟีดอร์” ระหว่างปล่อยจรวดเพื่อส่งยานโซยุซขึ้นสู่วงโคจร

เป็นคำพูดเดียวกับยูริ กาการิน นักบินอวกาศชาวรัสเซียที่เป็นมนุษย์คนแรกที่ขึ้นไปท่องอวกาศ

 

หุ่นยนต์ “ฟีดอร์” รูปร่างเหมือนมนุษย์สีเงินตัวนี้สูง 180 เซนติเมตร หนัก 160 กิโลกรัม มีบัญชีอินสตาแกรมและทวิตเตอร์ของตัวเองด้วย ได้รายงานไว้ว่ากำลังเรียนรู้ทักษะใหม่ เช่น การเปิดขวดน้ำ และบนไอเอสเอสจะเรียนรู้ทักษะต่างๆ ในสภาพแรงโน้มถ่วงต่ำมาก ทวิตเตอร์จะคอยอัพเดตสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่และปฏิบัติการที่ทำอยู่ด้วยตลอดเวลา

อเล็กซานเดอร์ โบลเชนโก ผู้อำนวยการโครงการอนาคตและวิทยาศาสตร์ของสำนักงานอวกาศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ก่อนส่งยานโซยุซว่า หุ่นยนต์ตัวนี้จะเรียนรู้ทักษะต่างๆ บนไอเอสเอส

หุ่นฮิวแมนนอยด์แบบนี้เลียนแบบการเคลื่อนไหวของคน ทำให้สามารถช่วยงานนักบินอวกาศ และในอนาคตจะใช้ทำภารกิจอวกาศที่มีอันตรายแทนนักบินอวกาศในการออกไปเดินในอวกาศ

ฟีดอร์จะฝึกเปิดและปิดการเชื่อมต่อสายเคเบิลต่างๆ โดยใช้สิ่งของที่เป็นมาตรฐานตั้งแต่ที่เปิดขวดไปจนถึงเครื่องมือทั่วไป เช่น ไขควง, กุญแจเลื่อน เครื่องดับเพลิง

โดยปกติแล้วยานอวกาศโซยุซจะนำนักบินอวกาศขึ้นไปด้วย แต่ครั้งนี้ไม่มีนักบินอวกาศ มีเพียงหุ่นยนต์ “ฟีดอร์” ที่เดินทางไปด้วย

ซึ่งถือเป็นการทดสอบระบบช่วยเหลือฉุกเฉินตัวใหม่

และเจ้าฟีดอร์จะปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือนักบินอวกาศบนไอเอสเอส มีกำหนดการทำภารกิจทดสอบการทำงานของระบบต่างๆ บนสถานีอวกาศนานาชาตินานประมาณ 2 อาทิตย์ จะเดินทางกลับโลก โดยควบคุมผ่านระบบ AR และ AI

แต่ในอนาคตจะทำงานด้วยระบบ AI เต็มรูปแบบ คิดเองได้ไม่ต้องใช้มนุษย์ควบคุม

 

และเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ (นาซ่า) ออกแถลงการณ์ว่า ยานแคปซูลโซยุซเอ็มเอส-14 ซึ่งมีผู้โดยสารเป็นหุ่นยนต์ขนาดเท่าคนจริง ชื่อเฟดอร์ (Fedor) ตามชื่อโครงการ “inal Experimental Demonstration Object Research” ซึ่งถือเป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตัวแรกขององค์การอวกาศรัสเซีย สามารถเชื่อมต่อเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) เมื่อช่วงเย็นของวันจันทร์ตามเวลามาตรฐานสากล หลังจากความพยายามเชื่อมต่อล้มเหลวครั้งแรก

โดยความสำเร็จครั้งที่ 2 นี้เกิดขึ้นขณะที่ไอเอสเอสลอยอยู่ที่ระดับ 400 กิโลเมตรเหนือผิวโลก บริเวณประเทศมองโกเลีย

และเมื่อวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมา ได้บินกลับสู่โลกจากสถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) ได้โคจรลงจอดที่คาซัคสถานและรายงานความสำเร็จของภารกิจเป็นที่เรียบร้อย

ทั้งนี้ รอสคอสมอสแถลงว่า เจ้าหุ่นยนต์ฟีดอร์ ซึ่งมีขนาดเท่ากับมนุษย์ จะทำหน้าที่ช่วยนักบินอวกาศในงานที่มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย เช่น การเดินอวกาศ

อย่างไรก็ตาม ฟีดอร์ไม่ใช่หุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ตัวแรกที่ถูกส่งขึ้นไปบนอวกาศ โดยเมื่อปี 2554 นาซาเคยส่งหุ่นยนต์โรโบนอต์ 2 ที่พัฒนาขึ้นโดยเจเนอรัล มอเตอร์ส ขึ้นไปบนอวกาศมาแล้ว

 

นอกจากนั้น รัสเซียยังชื่นชอบเป็นพิเศษกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเร่งการพัฒนาอาวุธใหม่ของรัสเซีย น่าจับตามองมากว่าเจ้าหุ่นยนต์ฟีดอร์ตัวนี้จะสามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพได้ขนาดไหน

แม้แต่ยานอวกาศโซยุซที่เป็นพาหนะส่งหุ่นยนต์ตัวนี้ขึ้นไปบนสถานีไอเอสเอสได้รับการจับจ้องกับการพัฒนาการด้านอวกาศไปอีกขั้นของรัสเซีย ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโดรนยานอวกาศที่ไม่ต้องใช้คนขับ

มันอาจจะกลายมาเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทุ่นแรงและลดการสูญเสียของทหารลงได้

ซึ่งสงครามในปัจจุบันเริ่มแตกต่างไปจากสมัยก่อนโดยสิ้นเชิง แทนที่จะเป็นการใช้อาวุธเข้าต่อสู้กันแบบซึ่งๆ หน้า แต่ได้มีการเปลี่ยนมาเป็นการพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น

ณ เวลานี้มันถึงยุคของหุ่นยนต์และเครื่องบินรบแบบไร้คนขับแล้ว

บรรดานักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกต