คุยกับทูตอิตาลี ‘โลเรนโซ กาลันตี’ มุมมองต่อเมืองไทย เปิดความร่วมมือท่องเที่ยว-วัฒนธรรม-กีฬา

คุยกับทูต โลเรนโซ กาลันตี อิตาลีจับมือไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มุ่งกระชับสัมพันธ์กับอาเซียน (4)

“การสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทย-อิตาลี เกี่ยวข้องกับการสร้างความสัมพันธ์และการให้ความสนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนทั้งสองฝ่าย ซึ่งนอกจากเศรษฐกิจและการค้าแล้ว เรายังมีโครงการสำคัญทางการศึกษาและวัฒนธรรมร่วมกันด้วย”

เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน นายโลเรนโซ กาลันตี (H.E. Mr. LorenzoGalanti) เล่าถึงกลไกสำคัญในการกระชับความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันครอบคลุมทั้งนักลงทุนและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของทั้งสองประเทศให้ได้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น

เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย นายโลเรนโซ กาลันตี (H.E. Mr. Lorenzo Galanti)

“เรามีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งรวมทั้งความร่วมมือ

ทางการกีฬาด้วย และยังโน้มน้าวให้โครงการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนร่วมกัน ที่สำคัญเรามีการพัฒนาการสอนภาษาอิตาลีผ่านสมาคมดันเต อาลีกีเอรี (Dante Alighieri Society-Bangkok) มีที่ตั้งอยู่ภายในหอการค้าไทย-อิตาเลียน ด้วยการจัดหลักสูตรภาษาที่เหมาะสม”

สำหรับความร่วมมือทางด้านกีฬา ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 28 ปี ค.ศ. 2015 ที่ประเทศ

สิงคโปร์ หัวหน้าผู้ฝึกสอนเป็นชาวอิตาลีวัย 32 ปี แดเนียล เฟอร์รี (Daniel Ferry) พาทัพโปโลน้ำหญิงทีมชาติไทย ชนะสิงคโปร์เต็งหนึ่งเจ้าภาพ คว้าเหรียญทองประวัติศาสตร์ในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 28 ได้สำเร็จ และแดเนียล เฟอร์รี ยังคงทำหน้าที่หัวหน้าผู้ฝึกสอนโปโลน้ำในไทยจนทุกวันนี้

เช่นเดียวกับ คลาวเดีย แทปปาเรลลี่ ผ็ฝึกสอนชาวอิตาลี มาช่วยพัฒนาวงการระบำใต้น้ำชุดทีม

ชาติไทย และ มาร์โก ซิโมเน (Marco Simone) กุนซือชาวอิตาลี เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน ราชบุรี เอฟซี ทีมดังในศึกฟุตบอลโตโยต้า ไทยลีก

ส่วนสมาคม ดันเต อาลีกีเอรี (Dante Alighieri Society) มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรม

และภาษาอิตาลี วันนี้มีกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ก่อตั้งในอิตาลี เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1889 สมาคมได้รับการตั้งชื่อตาม ดันเต อาลีกีเอรี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ดันเต ซึ่งเป็นนักกวียุคก่อนยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา จากเมืองฟลอเรนซ์ และผู้แต่งเรื่อง The Divine Comedy ดังเตได้รับการขนานนามในอิตาลีว่า “il Sommo Poeta” หรือ “มหากวี” และได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งภาษาอิตาลี”

เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย นายโลเรนโซ กาลันตี (H.E. Mr. Lorenzo Galanti)

“การกีฬาและการศึกษา เป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่มีความสำคัญมาก เรายังต้องการให้

มีการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา ซึ่งผมกำลังดำเนินงานอยู่ เพราะปัจจุบันยังมีไม่มากนัก แน่นอนว่าเรามีอาจารย์จากอิตาลีทางด้านภาษา ศิลปะ และสถาปัตยกรรมด้วยโปรแกรมการออกแบบ และสถาปัตยกรรมนานาชาติในมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ประเทศไทย ส่วนที่ยังไม่เพียงพอก็คือจำนวนนักศึกษา อันเกี่ยวข้องกับเรื่องภาษา ซึ่งต้องมีโปรแกรมภาษาอังกฤษด้วย เป็นเรื่องที่ผมต้องการที่จะพัฒนาต่อไปเช่นกัน”

ท่านทูตโลเรนโซ เล่าถึงการเข้าร่วมในกิจกรรมการกุศล ได้แก่

“การจัดเทศกาลออกร้านนานาชาติประจำปี (YWCA Diplomatic Charity Bazaar) โดยคณะภริยาทูต

และสมาคมไว ดับยู ซี เอ กรุงเทพฯ ร่วมกับ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ รายได้จากการจำหน่ายสินค้านำไปมอบให้กับโครงการการกุศลต่าง ๆ อันเป็นโครงการริเริ่มโดยหอการค้าไทย – อิตาลี และงานกาล่าดินเนอร์ ‘A Taste of Music’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัปดาห์อาหารอิตาเลียน รายได้มอบให้บ้านคามิลเลียน (Camillian Home) ในประเทศไทย เป็นต้น”

บ้านคามิลเลียน เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์สำหรับเด็กที่ดำเนินงานแบบไม่แสวงหากำไร ใน

นามของ “มูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทย” ก่อตั้งโดยบาทหลวงโจวันนี คอนตาริน (Father Giovanni Contarin) นักบวชชาวอิตาลีผู้ซึ่งทำงานกับคนยากจนและผู้พิการมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ.1987 งานหลักตามเจตนารมณ์ของบ้าน คือเข้าไปดูแลเด็กพิการซึ่งบางคนก็ถูกทอดทิ้งให้เป็นเด็กกำพร้า และซ้ำร้ายไปกว่านั้นบางคนก็ยังติดเชื้อ HIV อีกด้วย บ้านคามิลเลียน บริหารงานโดย “มูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทย”

มาถึงเรื่องการท่องเที่ยวบ้าง

ทุกปี สถานที่สำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จะได้รับการคัดเลือกจาก

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกที่มีคุณค่าโดดเด่นเป็นสากลต่อมวลมนุษยชาติ

ประเทศอิตาลี นอกจากจะขึ้นชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของแฟชั่น ความโรแมนติก และประวัติศาสตร์

แล้ว ยังคึกคักไปด้วยแหล่งมรดกโลกหลายแห่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก ยกย่องให้เป็นสมบัติแห่งมวลมนุษยชาติ โดยรวมในปี ค.ศ. 2019 ทั้งหมดมีถึง 55 แหล่ง นับเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 50 แห่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติอีก 5 แห่ง

นอกเหนือจากการดูแลรักษาแหล่งมรดกโลกนี้แล้ว อิตาลียังสามารถจัดการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

ในขณะเดียวกันด้วย จึงต้องมีวิธีการอนุรักษ์สถานที่ป้องกันมิให้เกิดการเสียหาย หรือเปลี่ยนแปลงสภาพเร็วเกินไป

“แน่นอนว่า เรามีแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ สามารถเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

และแบ่งปันประสบการณ์ เรากำลังมีการเจรจาข้อตกลงในความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ที่มีจุดประสงค์เช่นนี้ก็เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติและนโยบายที่ดีที่สุด เกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงและกลยุทธ์การท่องเที่ยวของเรา ให้เหมาะสมสำหรับศตวรรษที่ 21 เช่นในปัจจุบัน สายการบินไทยมีเที่ยวบินตรงสู่อิตาลีทุกวัน”

“มีนักท่องเที่ยวชาวอิตาลีเดินทางมาประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกเดือน เมื่อปีที่แล้วมาถึง 265,000 คน

ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยไปเยือนอิตาลีประมาณ 70,000 คนต่อปี โดยมีการใช้จ่ายที่สูงและยินดีที่จะหาซื้อสินค้าสไตล์อิตาเลียนที่หรูหรามีคุณภาพ”

“ปีที่แล้ว เราออกวีซ่าให้นักท่องเที่ยวไทย 37,000 คนและมีจำนวนเพิ่มขี้นทุกปี อย่างที่ได้กล่าวไป

อีเซเลเอโอลีเอ(หมู่เกาะเอโอเลียน) ซิซิลี มรดกโลกทางธรรมชาติ โดย ยูเนสโก

แล้วว่านักท่องเที่ยวชาวไทยไปเยือนอิตาลีประมาณสองเท่า ราว 70,000 คน มาก เป็นสองเท่าของผู้ที่ได้รับวีซ่าจากเรา เพราะขอวีซ่าได้จากประเทศเชงเกนอื่น ๆ จึงสามารถเดินทางเข้าอิตาลีและทั่วยุโรป”

ความตกลงเชงเกน (Schengen Agreement) เป็นความตกลงระหว่างประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป

อันให้สัตยาบันเมื่อ ค.ศ. 1985 สาระสำคัญเป็นการอนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มสามารถเดินทางระหว่างกันโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง ยกเว้นสหราชอาณาจักรที่มิได้ใช้กฎนี้

“มีชาวอิตาลีประมาณ 6,000 คนที่ขึ้นทะเบียนพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยมีที่อยู่ถาวรและใช้

เวลาส่วนมากอยู่ในประเทศไทยโดยตลอด  แต่บางคนเลือกที่จะไม่ลงทะเบียน เพราะไม่ใช่ภาคบังคับ ดังนั้นการประเมินของเราคือ มีชาวอิตาลีประมาณ 10,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศไทย บางคนไม่ได้อยู่ที่นี่ตลอดทั้งปี อาจจะแค่ 6 เดือน หรือ 8 เดือน และอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยไม่เพียงแต่ในกรุงเทพฯ”

มุมมองของท่านทูตโลเรนโซ กาลันตี ที่มีต่อประเทศไทยวันนี้

วิลลาเดสเต-ตีโวลี-มรดกโลกทางวัฒนธรรม-โดย-ยูเนสโก

“นับตั้งแต่เดินทางจากอิตาลีมาประจำที่นี่วันแรกจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยขยายตัวเจริญเติบโตขึ้น

เรื่อย ๆ นับว่าผมโชคดีมาก เพราะมาอยู่ในช่วงแห่งปีที่น่าสนใจอย่างมากที่สุด  เริ่มจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ต่อมา มีการเลือกตั้งทั่วไป จนกระทั่งมีรัฐบาลใหม่”

“ถือว่า ประเทศไทยอยู่ในทิศทางที่ดี เพราะประชาคมระหว่างประเทศตระหนักถึงความก้าวหน้า

จากการประชุมสุดยอดอาเซียน (34th ASEAN Summit) ที่ผ่านมา ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของอาเซียน ได้รับการยอมรับจากรัฐมนตรีชาติสมาชิกอาเซียน และบุคคลสำคัญจากหลายชาติที่เข้าร่วมการประชุมอาเซียนในปีนี้ รวมทั้งผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรป (EU) ด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง และรองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป”

การประชุมสุดยอดอาเซียน เป็นเวทีให้ผู้นำอาเซียนร่วมกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนา

ภูเขาเอตนา มรดกโลกทางธรรมชาติ โดย ยูเนสโก

ความสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาค รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับประเด็นภายในภูมิภาคและ ระหว่างประเทศ เพื่อหาแนวทางในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ร่วมกัน อย่างตรงไปตรงมาในบรรยากาศของมิตรภาพ

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ย้ำความสำคัญของการรักษาความเป็นเอกภาพ ผลประโยชน์ร่วมกัน และ

ความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค รวมทั้งความสำคัญของการส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียน ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและอินโด-แปซิฟิก

ท่านทูตอิตาลี เสริมว่า

“ประเทศไทยประสบความสำเร็จในฐานะประธานอาเซียน ปี ค.ศ. 2019 ซึ่งมีความสำคัญและท้า

ทายเป็นอย่างมาก ผมจึงคิดว่า ปีนี้ เป็นปีที่สดใสของประเทศไทยอย่างแท้จริง”