รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ/RPA ไอทีโรบอท เทคโนโลยีธุรกิจอัจฉริยะ

รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ

https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

RPA ไอทีโรบอท

เทคโนโลยีธุรกิจอัจฉริยะ

 

เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวัน

การเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีแบบรวดเร็วเข้าถึงข่าวสารข้อมูลได้ไวขึ้น

การเข้าสู่ระบบอัตโนมัติได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ เพื่อใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่จากความต้องการที่จะเปลี่ยนลักษณะงานให้ไปอยู่ในรูปแบบอัตโนมัติเพื่อลดแรงงานที่จะใช้ในงานประเภทที่เป็น Day-to-Day Task ให้ลดน้อยลง นำเทคโนโลยีมาช่วยแทน

RPA (Robotic Process Automation) จะเข้ามามีบทบาทในทุกแวดวงธุรกิจมากขึ้น

ในภาวะเศรษฐกิจกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องในยุคที่เทคโนโลยีเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทุกอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก อาทิ อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการเงิน ฯลฯ เกิดการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้นขึ้น

และหันมานำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ สินค้าและบริการให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและสร้างส่วนแบ่งการตลาดให้มากขึ้น

การคาดการณ์ว่า ระบบอัตโนมัติจะถูกนำมาใช้ในกระบวนการทำงานต่างๆ มากกว่า 45% และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานทั่วโลกได้มากถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

หรือราวกว่า 65 ล้านล้านบาท

 

RPA มันคือ หุ่นยนต์ สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงและสามารถเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ทำงานเหมือนๆ กัน รูปแบบงานเหมือนกันๆ ในระบบงานที่ต้องการความรวดเร็ว

ประเมินตลาด RPA ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะมีมูลค่าสูงถึง 2.9 พันล้านบาทในปี 2021 กลยุทธ์การพัฒนาบริการใหม่ๆ เปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ “ความเป็นดิจิตอลอย่างเต็มตัว” สร้างกระแสการตื่นตัวให้กับธุรกิจรายอื่นๆ ในการวางแผนปรับใช้ระบบอัตโนมัติ

การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอลวางแผนปรับใช้ระบบอัตโนมัติ ปรับมาใช้ในงานที่ทำเป็นประจำ หรืองาน routine เช่น งานเอกสารต่างๆ ที่องค์กรสามารถเซ็ตระบบอัตโนมัติเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และช่วยลดเวลาและภาระต้นทุนต่างๆ

ความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ให้สามารถกระจายสินค้าที่เพิ่มจำนวนขึ้นบนระยะเวลาที่สั้นลง

เกิดการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้นขึ้นนับเป็นโจทย์ที่ท้าทาย

 

กระบวนการด้านการจัดการข้อมูลเหล่านี้เองที่ได้เริ่มกลายเป็นภาระของหลายๆ องค์กรในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้

เนื่องจากกระบวนการเหล่านี้ที่ต้องเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นรายวัน, รายสัปดาห์ หรือรายเดือนนั้นถือเป็นงานใหญ่ที่ผิดพลาดไม่ได้ และปริมาณข้อมูลก็มากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตของธุรกิจ

แต่ด้วยธรรมชาติของมนุษย์ ความผิดพลาดในการป้อนข้อมูลนี้ก็เกิดขึ้นได้อยู่เสมอ และด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาล กับข้อจำกัดทางด้านเวลาในการทำงาน

RPA เรียกง่ายๆ ก็คือ โรบอท หรือหุ่นยนต์ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของมนุษย์

สิ่งที่โรบอททำงานคือ โรบอทจะทำงานตามคำสั่ง ตามรูปแบบ ที่ได้ถูกออกแบบจากมนุษย์ให้ทำงานตามนั้น  ไม่สามารถคิดเองทำเองได้

ซึ่งแตกต่างจาก AI ที่สามารถคิดและประมวลผลและตอบสนองการตัดสินใจได้

RPA โรบอทสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยตรง

โรบอทจะทำงานตามคำสั่งที่ออกแบบเท่านั้น การออกแบบคำสั่งโรบอทเพื่อช่วยงาน ต้องคำนึงทุกเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ไม่เช่นนั้นเจ้าโรบอทจะหยุดทำงานทันที

โรบอทสามารถเข้าไปทำงานทดแทนได้ทันทีเนื่องจากงานดังกล่าวเป็นงานที่ซ้ำๆ เพียงแค่เราบอกโรบอทว่าให้ทำอะไร

อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยความเร็วในการประมวลผลและจัดการกับข้อมูลที่สูงขึ้นได้

 

จุดเด่นที่โรบอทช่วยงานได้มากคือ เราสอนโรบอททำงานแค่ครั้งเดียว โรบอทจะทำงานแบบเดิมไปตลอดลดข้อผิดพลาดต่างๆ จะสามารถมาช่วยเหลือคนในการทำงานหลายๆ อย่าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขึ้นไปอีก

กระบวนการทำงานอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ โดยการนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยพัฒนากระบวนการทำงานที่ซ้ำๆ ให้กลายเป็นกระบวนการทำงานอัตโนมัติ หุ่นยนต์นั้นจะทำงานที่เหมือนกันทุกๆ ตัว เพราะเราได้ออกแบบหน้าตาและ WorkFlow การทำงานที่เหมือนกัน คือทำให้คิดแบบเดียวกันทำงานเหมือนกัน ลดความผิดพลาดจาก User Error ได้เป็นอย่างดี

ในด้านการแข่งขันทางธุรกิจแล้วด้วยนั้น ใครทำได้ก่อนหรือทำได้เร็วกว่า ก็จะกลายเป็นผู้ชนะในแข่งขัน ซึ่งการที่ทำจะแบบนั้นได้ ต้องอาศัยกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพรวดเร็ว สามารถทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยปราศจากข้อผิดพลาด หรือผิดพลาดให้น้อยที่สุด

เนื่องจากหากเปรียบเทียบกับมนุษย์แล้ว หากพนักงานที่ทำงานนั้นเกิดลาออกขึ้นมา ก็จะทำให้งานนั้นๆ ชะงักทันที ต้องหาคนมาทำงานแทนซึ่งหมายถึงการที่ต้องสอนงานใหม่ทั้งหมด

อีกทั้งโรบอทเพียงตัวเดียวสามารถทำหลากหลายงาน ขึ้นอยู่กับเราจะสอนให้โรบอททำ

 

การนำเอา RPA เข้ามาใช้เพิ่มความสามารถด้านการขาย การวิเคราะห์ยอดขายในระดับซับซ้อน และการทำนายยอดขายในอนาคต และช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ อาทิ ชนิดของสินค้าขายดีจะมีความแตกต่างตามภูมิภาคและร้านค้า ความชอบของลูกค้าหรือเทรนด์ตลาด

แม้ RPA จะเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับคนในองค์กร แต่ก็สามารถสร้างผลลัพธ์ด้วยความรวดเร็ว และแทบไม่เกิดเรื่องล้มเหลวแก่องค์กร

มีค่าใช้จ่ายไม่สูงเท่าการสร้างระบบใหม่ทั้งระบบ

และทำให้มนุษย์ซึ่งเป็นพนักงานนั้นมีเวลาไปทำงานในเชิงสร้างสรรค์ให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้นนั่นเอง