E-DUANG : สถานการณ์ ถวายสัตย์ ปฎิญาณ บทบาท ปิยบุตร ณ อนาคตใหม่

ในที่สุด ข้อท้วงติงอัน นายปิยบุตร แสงกนกกุล นำเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ในเรื่องการถวายสัตย์ปฏิ ญาณตนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ก็กลายเป็น “วาระ” กลายเป็น “ประเด็นหลัก” หัวข้อร้อนในทางการเมือง

โดยเป้าหมายอยู่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

โดยแม้เรื่องจะมีจุดเริ่มต้นจากข้อท้วงติงด้วยความห่วงใยมา จาก นายปิยบุตร แสงกนกกุล ผู้แทนราษฎรจากพรรคอนาคตใหม่ แต่ก็กลายเป็นความรับผิดชอบร่วมของ 7 พรรคฝ่ายค้าน

นั่นก็คือ กลายเป็นเนื้อหาหลักอันนำไปสู่การยื่นญัตติขอเปิด อภิปรายทั่วไปตามมาตรา 152 ของรัฐธรรมนูญ

สั่นสะเทือนรัฐบาลและ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

เหตุปัจจัยอะไรทำให้กรณีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้ามาอยู่ในการรับรู้ของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล

1 มาจากปัจจัยของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เอง

ขณะเดียวกัน 1 ซึ่งสำคัญมาจากปัจจัยที่พรรคอนาคตใหม่ดำรงอยู่อย่างแนบแน่นกับการเคลื่อนไหวในสังคมโซเชียล มีเดีย อย่างใกล้ชิด

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นดุษฎีบัณฑิตทางนิติศาสตร์ สอนวิชารัฐธรรมนูญมาอย่างต่อเนื่อง

เป็นนักอ่านระดับ”หนอนหนังสือ”

จึงไม่เพียงแต่จดจำบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันเมื่อเกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นก็ตรวจสอบจากฐานข้อ มูลโดยเฉพาะของ นายวิษณุ เครืองาม ได้อย่างทันท่วงที

ยิ่งกว่านั้น พรรคอนาคตใหม่เป็นพรรคการเมืองที่ไวต่อกระแสการเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดียและรับรู้การเคลื่อนไหวนี้ได้อย่างรวดเร็ว

จึงประสานเข้ากับบทบาทของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล

 

บทเรียนอย่างสำคัญในทางการเมืองไม่เพียงแต่จะผนวกระหว่างความหนักแน่นทางวิชาการเข้ากับสถานการณ์และการเคลื่อนไหว ในทางสังคมสมัยใหม่

หากแต่อยู่ที่ความสามารถในการหยิบยกและสร้างประเด็นในทางการเมือง

ชูบทบาทอันโดดเด่นของ”ผู้แทนราษฎร”ในระบบรัฐสภา

ทำให้แปรเรื่องที่ดูเหมือนจะเล็กๆทรงความหมายโดดเด่นขึ้น