E-DUANG : จับตา ท่าที ประชาธิปัตย์ ความคมเขี้ยวในการต่อสู้

การบรรจุประเด็น“การแก้ไขรัฐธรรมนูญ”เป็นเนื้อหาหนึ่งในการเข้า ร่วมกับพรรคพลังประชารัฐในการจัดตั้งรัฐบาลถือเป็นความพยา ยามหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์

บางคนอาจจะมองและประเมินว่าเป็นข้อเสนอที่รู้อยู่แล้วว่าจะต้องได้รับการปฏิเสธ

เพราะรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ไม่เพียงแต่จะเป็นผลงานสำคัญเพื่อบรรลุยุทธศาสตร์ทางการเมืองตามบทสรุปที่ว่า เป็นรัฐ ธรรมนูญที่ DESIGN มาเพื่อพวกเราของพรรคพลังประชารัฐ

หากแต่ยังเป็นเป้าหมายเดียวกันกับคำประกาศของฝ่ายต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคสช.อีกด้วย

นี่คือความมากด้วยคมมากด้วยเขี้ยวของพรรคประชาธิปัตย์

 

ต้องยอมรับว่าการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคมพรรคประชาธิปัตย์ได้บทเรียนอย่างหนักหนาสาหัส

ไม่ว่าจะเป็นจำนวนที่ลดลงในพื้นที่ภาคใต้

ไม่ว่าจะเป็นการไม่ได้รับเลือกเลยแม้แต่คนเดียวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

นั่นเพราะท่าทีก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

นั่นเพราะท่าทีและการเข้าไปมีส่วนร่วมก่อนรัฐประหารเดือน พฤษภาคม 2557

ปริมาณที่ลดจาก 100 คงเหลือเพียง 52 สำคัญอย่างยิ่ง

ขณะเดียวกัน ความเป็นจริงที่พรรคประชาธิปัตย์มิอาจปัดปฏิเสธได้ก็คือ ความขัดแย้ง แตกแยกภายในพรรคอันแสดงออกผ่านการเลือกหัวหน้าพรรค 2 หน จึงมีความจำเป็นที่พรรคประชาธิปัตย์จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างสูงในแต่ละก้าวย่าง

แท้จริงแล้ว ข้อเสนออันมาจากภายในพรรคประชาธิปัตย์ต่อพรรคพลังประชารัฐก็สะท้อนให้เห็นปัญหาและความขัดแย้งภายในของพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง

คำตอบสุดท้ายจึงอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์จะร่วมหรือไม่ร่วม

 

หากเทียบกับพรรคการเมืองอื่นที่ประกาศเข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐในการหนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมน ตรี ก็ต้องยอมรับว่าพรรคประชาธิปัตย์สร้างความต่าง

เหมือนกับข้อเสนอจะดำรงอยู่ภายใต้การต่อรองตำแหน่งในทางการเมือง

แต่ภายในการต่อรองก็เป็นการต่อสู้ในแบบประชาธิปัตย์