สมุนไพรมหิดล : มะเขือขื่น

ไม้พุ่ม ลำต้นมีหนามสั้น

ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ผิวใบมีขนรูปดาวทั้งสองด้าน

ดอก เดี่ยวหรือช่อสั้นแบบช่อกระจะ ดอกย่อย 4-6 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันที่โคน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ติดทน กลีบดอกสีม่วง

ผล รูปทรงกลม สีเขียวมีลายสีขาว เมื่อสุกสีเหลือง ผิวเรียบเป็นมัน เนื้อในผลสีเขียว

เมล็ด กลมแบน สีน้ำตาลอ่อน มีเมล็ดจำนวนมาก แต่มีรสขื่นกว่า จึงเรียกว่า มะเขือขื่น

ผล กัดเสมหะ แก้เสมหะ

ราก ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไข้สันนิบาต

อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ และภาคอีสาน กินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ใส่ในส้มตำ แกง ลาบ

4-%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%82%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%991 4-%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%82%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%992