อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : เมื่อชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

บทความนี้เขียนขึ้นเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์กวาดยิงอย่างสะเทือนขวัญ 15 มีนาคมที่ผ่านมาที่เมืองไครสต์เชิร์ช (Christchurch) ประเทศนิวซีแลนด์ จนกระทั่งมีการถกเถียงครั้งใหญ่ว่าจะปฏิรูปโซเชียลมีเดียอย่างไรในเรื่องการกำกับดูแล (regulation) ต้องการความร่วมมือทั้งของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ รัฐบาลและผู้บริโภค

ในโลกที่สมบูรณ์แบบ YouTube และ Facebook จะแข่งขันกันผ่านการถ่ายถอดวิดีโอทันทีที่มีใครก็ตามอัพโหลดภาพนั้นขึ้นมา แต่ถ้าภาพและเนื้อหาเป็นปัญหาหรือวิดีโอนั้นถูกแบน ภาพนั้นๆ ก็จะไม่เผยแพร่สู่สาธารณะ

 

อะไรเกิดขึ้นที่นิวซีแลนด์

ชายที่ถูกกล่าวหาว่ากราดยิงไล่ผู้คนถูกถ่ายทอดนาน 17 นาทีและด้วย Facebook Inc. ได้เสนอภาพของชายผู้ถูกกล่าวหานั้นเป็นเวลานาน 12 นาที ผู้คนนับแสนคนได้ Clone ภาพที่ว่านั้น ผลิตและเผยแพร่ลงในอินเตอร์เน็ต วิดีโอถูกฉายซ้ำใน Twitter ซึ่งมีการเล่นเองโดยอัตโนมัติใน Timelines ของผู้ใช้นิรนามซึ่งปรากฏในฟอรั่ม “Watch People Die”

นี่เป็นบทเรียนของ Google และ YouTube AI เซ็นเซอร์เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ในการเก็บรวบรวม การโฆษณาชวนเชื่อ การก่อการร้ายหรือแค็ตตาล็อกภาพยนตร์โป๊ของเด็กผู้หญิง

ในการประชุมไต่สวนของรัฐสภาในสหรัฐอเมริกามากกว่า 2 ปี ผู้บริหารของ Face book และ YouTube ได้แถลงว่า พวกเขากำลังสืบสวนอย่างหนักต่อ AI ที่สามารถสืบค้นหรือสกัดกั้นวิดีโอความรุนแรงก่อนที่ใครจะได้เห็น

แต่ก็ยังมีแนวคิด 2 แนวคิดระหว่างความแตกต่างของ “ข้อเท็จจริง” จากนวนิยายและเสรีภาพของการแสดงออกจากความจริงของการฆาตกรรม

 

การส่งสัญญาณและการหยุดยั้ง

ความจริงแล้ว ผู้ต้องสงสัยคนนี้โชว์ภาพอาวุธและกระสุนต่างๆ ของเขาใน Twitter มาก่อน เขายังได้กล่าวถึงชื่อคนที่เป็น neo-nazi เอาไว้อีกด้วย นอกจากนี้เขายังใช้เวลานานนับสัปดาห์ ทวีต วิดีโอการเหยียดชาติพันธุ์ และเรียกผู้ย้ายถิ่นว่าเป็น “ผู้รุกราน”

ชายผู้นี้เป็นคนสัญชาติออสเตรเลีย แต่โตในสหรัฐอเมริกาที่ซึ่ง Twitter ตั้งอยู่ การทวีตของเขาได้รับการปกป้องอย่างกว้างขวางจาก The First Amendment ตามรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการกราดยิงแล้ว Twitter ได้เอาประวัติของเขาออกไป

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ YouTube ได้เก็บรักษามันไว้แล้ว YouTube ยังได้กลายเป็น “บ้าน” ของการอัพโหลดซ้ำๆ จำนวนมากของการถ่ายทอดสดของจริงของ Facebook ด้วย ผู้ให้บริการ internet ในนิวซีแลนด์ได้ถือเอาประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญ แล้วบล๊อกเว็บไซต์ยอดนิยมของคนขาวที่สูงศักดิ์กว่าซึ่งภาพวิดีโอได้เผยแพร่ออกไป

ประชาธิปไตยหลายๆ แห่งในโลกยังคงลังเลในการลบเนื้อหาออกจากเว็บ สะท้อนความหวาดกลัวต่อนโยบายต่างๆ ของระบบการปกครอง เช่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งรัฐบาลตั้งใจปกป้องประชาชนจากสิ่งไม่ดีมากกว่าการกำกับหรือควบคุมหรือเรื่องความก้าวหน้า

ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่ในช่วงยุ่งยากมากที่ประชากรของตนกำลังผูกพันและรักในเสรีภาพและพร้อมเข้าถึงสิ่งต่างๆ เหมือน YouTube หรือ Facebook

แต่ในนิวซีแลนด์ กระทรวงความมั่นคงภายใน (Department of Internal Affairs) ประกาศว่า การแชร์วิดีโอ 15 มีนาคม เป็นอาชญกรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังเสนออย่างรวดเร็วให้ “ห้ามปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติ” เหมือนที่ใช้ในการโจมตีครั้งนั้น และในช่วงของการสังหารหมู่

นักการเมืองทั้งหลายได้เรียกร้องให้มีการกำกับดูแลบริษัทด้านโซเชียลมีเดีย ซึ่งได้ต่อต้านการควบคุมเนื้อหาของตนอย่างรุนแรง

 

ในสหรัฐอเมริกา แม้ว่ามีการยอมรับฟังความคิดเห็นต่างๆ มากมาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังคงลังเลอยู่มากในการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ กับบริษัททางเทคโนโลยี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนพยายามรวมเรื่องนี้เข้ากับกฎหมาย Federal online privacy bill แต่ก็ยังไม่เกิดขึ้น กฎหมายฉบับนี้จะบังคับเข้มงวดอย่างมากต่อการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองทางออนไลน์ อันแพร่หลายและพัฒนาอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกาและอีกในหลายประเทศในโลก

ในสหรัฐอเมริกา ยังพยายามหาวิธีที่จะกำกับเนื้อหาในอินเตอร์เน็ตและการจัดตั้ง “ศูนย์เฝ้าระวัง” ซึ่งสามารถบังคับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอันได้รับแรงกดดันจากภายนอกได้ นั่นคือ สหภาพยุโรป (European Union-EU) สหภาพยุโรปบังคับการฟ้องต่อบริษัท Google และบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ด้วยประเด็น antitrust มาแล้ว

มีการบังคับใช้ “สิทธิการลืม” ลบข้อมูลของแต่ละบุคคลซึ่งร้องขอ ผู้เก็บข้อมูลว่าต้องได้รับการยินยอมจากประชาชนก่อนจัดเก็บข้อมูล บางบริษัทในสหรัฐอเมริกายอมรับกฎกติกาของสหภาพยุโรปเป็นกติกาสากล สหภาพยุโรปจะสามารถบังคับบริษัทให้เพิ่มการจัดการ “เนื้อหา” (content) ซึ่งสามารถเข้าถึงตลาดที่มีผู้คนราว 500 ล้านคนได้หรือไม่

ทันทีทันใดหลังจากข่าวการสังหารหมู่เกิดขึ้น บรรดานักกฎหมายจำนวนมากในประเทศยุโรปได้เรียกร้องให้มีการดำเนินการเรื่องการกำกับดูแลสื่อโซเชียลมีเดียทั้งหลาย

หลายคนกล่าวว่า ณ เวลานี้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียได้สูญเสียการควบคุมไปแล้ว พวกเขาล้มเหลวในการแสดงความรับผิดชอบ

บางคนกล่าวถึง oligarchs of Silicon Valley อันหมายถึง ระบอบคณาธิปไตยของกลุ่มผูกขาดเทคโนโลยีผู้ทรงอิทธิพลต่อโซเชียลมีเดียนั่นเอง

อันเป็นการแสดงถึงความผิดหวังอย่างรุนแรงต่อ Facebook, Google, Twitter ซึ่งอนุญาตให้มีการเผยแพร่เนื้อหาที่สุดโต่งอย่างมากๆ

ผมคิดว่า การพัฒนาที่รวดเร็วของเทคโนโลยีการสื่อสารอันสัมพันธ์กับโซเชียลมีเดียก่อให้เกิดผลทั้งดีและเสียมากมาย การกลับมาถกเถียงเรื่องของการกำกับดูแล privacy ข้อมูลส่วนบุคคล เรื่องต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจและควรดำเนินการอย่างยิ่ง