ปัญญาประดิษฐ์ AI ใครเหนือใคร ระหว่างจีนกับสหรัฐ/รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ

รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ

https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

ปัญญาประดิษฐ์ AI

ใครเหนือใคร

ระหว่างจีนกับสหรัฐ

 

การแข่งขันอันร้อนแรงของเทคโนโลยีเอไอ โดยเฉพาะสหรัฐและจีนนั้นอาจมองได้ว่าเป็นสงครามเทคโนโลยีที่สหรัฐกุมความได้เปรียบในฐานะผู้บุกเบิกและผู้นำในการพัฒนา

สหรัฐอเมริกาและจีนได้ก้าวมาเป็นผู้นำในด้านวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีคุณภาพมากที่สุดของโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ถึงแม้สหรัฐอเมริกาจะเป็นประเทศที่เริ่มต้นทำการวิจัยทางด้านนี้ก่อน

แต่ผลสำรวจนั้นชี้ว่าจีนได้ขึ้นนำสหรัฐอเมริกาทางด้านการตีพิมพ์งานวิจัยและการถูกนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในประเด็นของ Deep Learning และ Deep Neural Network ตั้งแต่ปี 2014 แล้ว

จากข้อมูลปี 2017 จีนมีปริมาณสิทธิบัตรด้าน AI มากกว่าสหรัฐอเมริกาอยู่ 4 เท่า

และถือครองสิทธิบัตรด้าน Blockchain มากกว่าสหรัฐอเมริกาอยู่ 3 เท่า

ซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วทางด้านการวิจัยเทคโนโลยีนี้ส่วนหนึ่งก็เป็นผลพวงมาจากการสนับสนุนอย่างเต็มตัวของภาครัฐในจีนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาใช้ผลักดันการเติบโตของประเทศจีน

ทั้งในส่วนของตอบสนองต่อผู้บริโภคและภาคธุรกิจ

ด้วยเหตุนี้สหรัฐอเมริกาจึงวางแผนในการปรับตัวทางด้านอนาคตของ AI และเผยแพร่ออกมาในเอกสารภายใต้ชื่อ Preparing for the Future of Artificial Intelligence เพื่อให้ภาคธุรกิจและการศึกษาในประเทศได้ปรับตัวไปพร้อมๆ กัน

 

ในรายงานฉบับหลังนี้ยังได้ระบุอีกด้วยว่า งบประมาณที่ใช้ในการค้นคว้าวิจัยของสหรัฐนั้นยังเป็นเพียง 1 ใน 8 ของปริมาณที่จะเป็นตัวเลขที่คุ้มค่าสูงสุดสำหรับประเทศ

ดังนั้น สหรัฐจึงยังสามารถเติบโตทางด้านงานวิจัย AI และขึ้นก้าวนำประเทศอื่นๆ ได้หากดำเนินตามแผนนี้ และจะทำให้สหรัฐอเมริกามีข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจเป็นอย่างมากในอนาคต

และหลังจากการวิเคราะห์งานวิจัยที่ตีพิมพ์ออกมาในด้าน AI มากกว่า 2 ล้านงานตีพิมพ์จนกระทั่งถึงสิ้นปี 2561 นั้น ทางสถาบัน Allen Institute พบว่าประเทศจีนนั้นกำลังจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกาแล้ว โดยคาดว่าจีนจะตามทันในส่วน 50% ของงานวิจัยที่มีคน cite มากที่สุดได้ภายในปีนี้ และตามทันส่วน 10% ของงานวิจัยที่มีคน cite มากที่สุดได้ภายในปีหน้า และจะตามทันในส่วน 1% ของงานวิจัยที่มีคน cite มากที่สุดได้ภายในปี 2568

โดยนักวิจัยพบว่า 10% ของงานวิจัยที่มีคน cite มากที่สุดนั้น ของทางฝั่งอเมริกาได้ลดลงมาจาก 47% เมื่อปี 2525 ลงมาเหลือเพียง 29% ในปี 2561

ส่วนฝั่งจีนนั้นกลับเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จนมาถึง 26.5% ได้เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา

 

กระบวนการในการออกสิทธิบัตรของจีนนั้นถือว่ามีความรวดเร็วสูงกว่าและเคร่งครัดน้อยกว่าการออกสิทธิบัตรในญี่ปุ่นหรือในสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก

ประเด็นนี้เองก็อาจเป็นอีกหนึ่งแรงผลักที่ทำให้เหล่านักวิจัยและธุรกิจจีนเร่งจดสิทธิบัตรเพื่อปกป้องนวัตกรรมของตนเองกันมากขึ้น

จีนก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีเอไอขึ้นมาเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อล่าสุด บริษัทวิจัยซีบีอินไซต์พบว่าจีนกลายเป็นประเทศที่มีบริษัท “สตาร์ตอัพ” ในด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจำนวนมากที่สุดในโลก

หรือคิดเป็นกว่าครึ่งของบริษัทที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอไอทั่วโลก

นโยบายส่งเสริม AI ของรัฐบาลจีน ซึ่งมักใช้วิธีส่งเสริมให้รัฐบาลท้องถิ่นทดลองนำ AI ไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยให้ร่วมมือกับเอกชนนำ AI ไปปรับใช้ในเรื่องการจราจร สาธารณสุข การเกษตร การศึกษา ฯลฯ

ทำให้มีตัวอย่างการปรับใช้ AI ที่หลากหลาย มีการพัฒนารูปแบบการนำ AI มาประยุกต์ใช้มากมาย

ขณะเดียวกันก็สามารถเก็บข้อมูลมหาศาลมาป้อนให้ AI ในแต่ละด้านได้พัฒนาและปรับปรุงความฉลาดและความแม่นยำขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

ด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศแผน American AI Initiative ที่มุ่งหวังให้หน่วยงานรัฐบาลให้ความสำคัญกับการวิจัยลงทุน AI เป็นลำดับแรก และเพื่อให้มั่นใจว่านวัตกรรม AI ที่ยอดเยี่ยมจะมาจากผู้สร้างเทคโนโลยีในสหรัฐ

แถลงการณ์จากทำเนียบขาวระบุว่า “ในขณะที่ความก้าวหน้าของเอไอมีเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก เราไม่สามารถอยู่เฉยๆ และถือว่าเราจะสามารถรับประกันความเป็นผู้นำของเราเอาไว้ได้”

แน่นอนว่านโยบายดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการตอบสนองต่อความห่วงกังวลต่อจีน ที่อาจจะขึ้นมาครองตำแหน่งผู้นำเทคโนโลยีเอไอแทนสหรัฐ ผลจากแนวนโยบายยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน รวมไปถึงการเพิ่มการลงทุนอย่างมหาศาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

5 ปัจจัยสำคัญของแผนการ American AI Initiative คือ

สนับสนุนการวิจัยระยะยาว ให้นักวิจัยในสหรัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลจากหน่วยงานรัฐบาลกลางมากขึ้น

ปรับปรุงผลลัพธ์การทำงานของ AI

เตรียมกำลังคนให้พร้อม มีทักษะ AI เพื่องานในอนาคต รวมทั้งสนับสนุนการศึกษา STEM (วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) ในภาคการศึกษา

สถาบันด้านเทคโนโลยีควรกำหนดไกด์ไลน์สำหรับการพัฒนา AI ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งมาตรฐานความปลอดภัย

และข้อสุดท้าย ที่น่าจะเป็นเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ ปกป้องความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี AI ของอเมริกาให้คงอยู่ต่อไป ท่ามกลางสงครามการค้าจีน-สหรัฐที่กำลังระอุ ยังมีเรื่องของความเป็นผู้นำเทคโนโลยีที่อเมริกาเป็นผู้นำมาตลอดนั้นกำลังถูกท้าทายโดยเทคโนโลยีจีน

คำสั่งประธานาธิบดีของทรัมป์ก็ถูกวิจารณ์ว่ายังคงมีความไม่ชัดเจนถึงเรื่องยุทธศาสตร์ และเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้จ่าย

 

เมื่อมองไปที่ประเทศจีน ชัดเจนว่าจีนนั้นมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน โดยรัฐบาลได้กำหนดแผนแม่บทในการพัฒนาเทคโนโลยีเอไอตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2017 ซึ่งถูกเรียกว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4”

อย่างไรก็ตาม ประชาชนชาวจีนยังคงมีสถิติสูงสุดของโลกที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตถึง 800 ล้านคนจากจำนวนประชากรทั้งหมด 1,400 ล้านคน

และจีนยังยึดถือ AI เป็นแขนข้างหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญของการแข่งขันในตลาดโลก ทำให้มีการจัดตั้ง Chinese State Council เพื่อจัดระบบพัฒนา AI ให้เทียบเคียงกับสหรัฐในปี 2020 มีการทุ่มเงินมากถึง 1 ล้านล้านหยวน หรือราว 4.63 ล้านล้านบาท เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมของจีน

โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การเป็น AI Innovation Center ของโลกภายในปี 2030

 

https://www.theverge.com/2019/3/14/18265230/china-is-about-to-overtake-america-in-ai-research

ต่างประเทศ : “เอไอ” สงครามเทคโนโลยีสหรัฐ-จีน