รายงานพิเศษ : เปิดโลกอาเซียน ล้านนา-ล้านช้าง ประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ (1)

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ จับมือกับ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และมหาวิทยาลัยพะเยา จัดงานสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2559 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%8d%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c-%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%a4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b9%8c

ปีนี้ มีธีมคือ “ASEAN : Siam -Thailand + Japan + China and India ” มีวงเสวนาที่น่าสนใจในหลายหัวข้อย่อย วัตถุประสงค์หลัก เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้าเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ในมิติด้านต่างๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ให้กับกลุ่มผู้บริหารการศึกษา ครู อาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจใฝ่รู้ทั่วไป เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างอาเซียนกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ในเอเชีย

ไฮไลต์ที่น่าสนใจ ไม่แพ้วงเสวนา คือ การลงพื้นที่ภาคสนาม เส้นทาง “ล้านนา-ล้านช้าง : น่าน-หลวงพระบาง-เชียงขวาง-เวียงจันทน์” ณ สปป.ลาว

โดยมีวิทยากรคือ ศ.พิเศษ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ อาจารย์สมฤทธิ์ ลือชัย บรรยายให้ความรู้ตลอดการเดินทาง 5 วัน 4 คืน

จุดเริ่มต้น น่าน-ล้านนา

จังหวัดน่าน เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย “สุจิตต์ วงษ์เทศ” ได้เขียนอธิบายไว้ในคอลัมน์ สยามประเทศไทย ตอน น่าน แปลว่า น้ำ ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน อธิบายคำว่า “น่าน” ว่า น่าน (ในชื่อ จ.น่าน) แปลว่า น้ำ มักเรียกซ้ำซ้อนกันว่า น่านน้ำ ต่อมาหมายถึง เขต, ย่าน เช่น น่านฟ้า แปลว่า เขตพื้นที่ทางอากาศ มีร่องรอยอยู่ในคำบอกเล่ากำเนิดเมืองน่าน เกี่ยวกับปัญหาแล้งน้ำ และต้องการแหล่งน้ำ

เมื่อเข้าใจความหมายตามนี้ จึงนึกถึงตำแหน่งแห่งที่ของเมืองน่าน ในทางภูมิศาสตร์ได้ว่าเมืองน่านอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงในไทย ส่วนเมืองหลวงพระบางอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในลาว

การเดินทางครั้งนี้จะเริ่มต้นที่น่าน ล้านนา ไปบรรจบปลายทางที่หลวงพระบาง เชียงขวาง ล้านช้าง

15230700_10208078794634712_8697233613544380716_n

วัดภูมินทร์ คือ จุดหมายแรก สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2319 ตั้งอยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ลักษณะเด่นกว่าวัดอาน ตรงที่มีโบสถ์และวิหาร สร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้สี่ทิศแกะสลักลวดลายอย่างงดงาม จุดสำคัญคือภาพฝาผนังซึ่งแสดงถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของยุคสมัยที่ผ่านมาตามพงศาวดารของเมืองน่าน พระอุโบสถและพระวิหารเป็นอาคารหลังเดียวกัน ทรงจตุรมุข ซึ่งกรมศิลปากรสันนิษฐานว่า เป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย

15094841_10208084644060944_4196337540301940736_n 15193649_10208084644460954_7527914876466268767_n

ไฮไลต์สำคัญของวัดภูมินทร์ ที่มีชื่อเสียงคือ ภาพฝาผนังจิตกรรมล้านนา ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นที่สวยงาม ระดับประเทศ คือ ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน มีคนให้ฉายาว่า “กระซิบรัก” ถูกวาดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2410-2417 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b3

%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b3

อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ พระธาตุเจดีย์ วัดช้างค้ำวรวิหาร ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสมัยสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา คือเจดีย์วัดช้างล้อม พระธาตุเจดีย์สร้างด้วยอิฐถือปูนมีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะเหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก

ที่หน้าบันของหอพระไตรปิฎก ของวัด มี พญาครุฑพ่าห์ (พญาครุฑกางปีก) ประดับที่หน้าบัน อาจารย์สมฤทธิ์ อธิบายว่า หอไตรแห่งนี้พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองเมืองน่านขณะนั้นตั้งพระทัยที่จะสร้างอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 5 เพราะปี พ.ศ.2453 เป็นปีที่พระองค์เสด็จสวรรคต

%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%99-%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b9%84%e0%b8%95%e0%b8%a3-%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b3

มีหลักฐานปรากฏเหนือครุฑพ่าห์ตัวที่สองจำหลักด้วยไม้ห้อยตัวลงมาหน้าหอไตร จารึกอักษรย่อไว้ว่า ” พ จ น พ ร ช ก ศ ล พ พ ธ ฉ ลฯ” ซึ่ง นายปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ 7 น่าน ได้ถอดความไว้ว่า “พระเจ้าน่านพระราชกุศลถวายพระพุทธเจ้าหลวง”

%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b8%aa%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%88

ข้ามถนนมาฝั่งตรงข้ามวัดช้างค้ำ คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ตั้งอยู่ภายในคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน ที่เรียกว่า “หอคำ” โดยเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่าน สร้างขึ้นเป็นที่ประทับ เมื่อ พ.ศ.2446 อาคารโอ่โถงงดงามก่ออิฐถือปูนแข็งแรง ตกแต่งด้วยลายลูกไม้ ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช

15202495_1475744159119592_4766495918165330872_n

ที่นี่มีห้องเก็บ “งาช้างดำ” ปูชนียวัตถุคู่เมืองน่าน มีประวัติเล่ากันไว้ว่า ได้มาจากเมืองเชียงตุง ตั้งแต่โบราณกาล เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย เจ้านายบุตรหลานจึงมอบให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ลักษณะเป็นงาปลีเปลือกสีน้ำตาลเข้ม ยาว 97 เซนติเมตร วัดโดยรอบ 47 เซนติเมตร หนักประมาณ 18 กิโลกรัม ส่วนปลายมนมีจารึกอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย กำกับไว้ว่า “กิ่งนี้หนักหนึ่งหมื่นห้าพัน” หรือประมาณ 18 กิโลกรัม

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%a7

วัดหนองบัว ต้องนั่งรถฝ่าอภิมหาโค้งไปหลายกิโลเมตร สันนิษฐานว่า สร้างประมาณ พ.ศ.2405 จากการสืบประวัติจากรายละเอียดของจิตรกรรมภาพเรือกลไฟ และรูปทหารชาวฝรั่ง และนำมาประเมินอายุ ซึ่งในประเทศไทยมีหลักฐานในจดหมายเหตุหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีเรือกลไฟใช้ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

15337661_10208157904892419_7385247693583404087_n

จึงสันนิษฐานว่า ช่างเขียนคงเห็นและนำแบบมาเขียนไว้ ยังมีปืนยาวแบบฝรั่ง คือ มีดาบติดปลายปืนด้วย เพราะเดิมคนไทยรู้จักใช้ปืนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา รูปแบบปืนมีปลายกระบอกยาวแต่ไม่ปรากฏมีดาบปลายปืน ปืนที่ติดดาบปลายปืนเป็นแบบฝรั่งที่นำมาใช้แพร่หลายในประเทศไทย สมัยรัชากลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา จึงประเมินอายุจิตรกรรมได้ว่า คงอยู่ในราวสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5

หลังจากจุดนี้แล้ว จะต้องเดินทางออกจากเมืองน่าน เพื่อไปยังด่านตรวจคนเข้ามือง บ้านห้วยโก๋น-เมืองเงิน อ.เฉลิมพระเกียรติ เพื่อข้ามไปยัง บ้านปากแบง เข้าสู่ สปป.ลาว

%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b9%8c

อนุสรณีย์วีรกรรมพลเรือน ตำรวจ ทหาร

มีสถานที่หนึ่งที่ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในโปรแกรม หลังจากคณะกำลังเดินทางไปยังบ้านปากแบง อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้ชวนให้แวะชมอนุสรณีย์วีรกรรมพลเรือน ตำรวจ ทหาร อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ของผู้ชนะ หลังรัฐไทยสู้รบกับคอมมิวนิสต์ในทศวรรษ 2510-2520 โดยเฉพาะหลัง “6 ตุลาคม 2519”

อาจารย์ชาญวิทย์ กล่าวว่า ในแง่ประวัติศาสตร์ชาติไทยที่นี่มีความสำคัญ หลายท่านทราบดีว่า จ.น่าน เคยเป็นพื้นที่สีชมพูและแดง เคยแดงเถือกเลยเมื่อสมัยทศวรรษ 2510-ทศวรรษ 2520 โดยเฉพาะช่วงหลัง 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งมีความขัดแย้งกันในสังคมไทยสูงมาก

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยแอ๊กทีฟมากในจังหวัดน่าน เพราะน่านติดไซยะบุรี ก็คือลาวซึ่งสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ไทยรวมถึงจีน สมัยเหมา เจ๋อ ตุง ก็ให้ความสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปฏิบัติการในบริเวณนี้ ฉะนั้น พื้นที่บริเวณนี้ทั้งหมดมีการสู้รบกันรุนแรง ผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก

แน่นอน นี่เป็นอนุสาวรีย์ของฝ่ายชนะ คือฝ่ายรัฐบาล ประกอบด้วย ทหาร ตำรวจ พลเรือนฝ่ายรัฐบาล จึงมีการสร้างอนุสาวรีย์นี้ขึ้นมา

%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b9%8c2

ที่น่าสนใจคือ หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้าป่าจำนวนมาก อาจจะถึง 3 พันคน ฉะนั้น คนที่อยู่ในป่าช่วงนั้นมีคนที่เรารู้จักในปัจจุบันเป็นอย่างดี หลายคนอยู่ในเขตแถบนี้

ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ ภายหลังคอมมิวนิสต์แตกกันเอง การที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยปราชัย ส่วนหนึ่งมาจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามแตกกัน เมื่อแตกกัน พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามไปสนับสนุนเขมรฝ่ายเฮง สัมริน และ ฮุน เซน ให้บุกยึดกรุงพนมเปญ ทำให้เขมรแดงแพ้ (เขมรแดงเป็นฝ่ายจีนและไทย) พอการเมืองเปลี่ยน พรรคคอมมิวนิสต์ไทยจึงสลายตัวเช่นเดียวกัน

นักศึกษาจำนวนหนึ่งที่เข้าป่าจึงกลับคืนเมือง มีกฎหมายที่ปรองดองกันเรียกว่า 66/23 สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ มีการนิรโทษกรรมยกโทษหมดเลย จึงปรองดองกันได้ คนรุ่นนั้นกลับเข้าเมือง ปัจจุบันส่วนหนึ่งอยู่ในพรรคเพื่อไทย อีกส่วนหนึ่งอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์ อีกพวกเป็นสีแดง อีกพวกเป็นสีเหลือง

ตอนนั้นหยุดทะเลาะเพราะกฎหมายปรองดอง 66/23 ปี 2523 หากมองสืบเนื่องมาจนวินาทีนี้ เราจะปรองดองกันได้หรือเปล่า เพราะตอนนี้แตกกันใหม่อีก

นี่คือตอนแรกของการลงพื้นที่ภาคสนาม กับพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ล้านนา ยังมีต่อในการเดินทางไปพบกับความรู้ ของประวัติศาสตร์ล้านช้าง ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โปรดติดตาม

ขอบคุณคลิป ภาคสนาม จาก คุณฟ้ารุ่ง ศรีขาว