รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ/Daisy หุ่นยนต์รีไซเคิล iPhone ‘แอปเปิ้ล’ ช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ๊นต์

รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ

https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

Daisy หุ่นยนต์รีไซเคิล iPhone

‘แอปเปิ้ล’ ช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ๊นต์

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เหล่านี้มีราคาลดถูกลง ผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่เร็วขึ้น ทำให้ผู้คนในทุกระดับสามารถเป็นเจ้าของได้

ในเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกครัวเรือน การเสื่อมสภาพไม่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้งาน ปัญหาที่ตามมาก็คือขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกที่มีปริมาณมาก

พฤติกรรมของผู้บริโภคจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อายุการใช้งานเฉลี่ยของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หดสั้นลง

นำไปสู่ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ

 

ดังนั้น ปริมาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นขยะที่เติบโตเร็วมากที่สุดของโลก ด้วยการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์ต่างๆ และจะมีอุปกรณ์อีกนับพันล้านชิ้นที่ถูกสร้างขึ้นมาตามแนวโน้มของระบบสื่อสารเคลื่อนที่ คลาวด์และอินเตอร์เน็ต เป็นความท้าทายสิ่งที่จะเกิดขึ้น การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ความซับซ้อนในการรีไซเคิล หลากหลายปัญหา ระเบียบข้อบังคับในระดับท้องถิ่น รัฐและประเทศ การเคลื่อนย้ายข้ามเขตแดนและอีกมากมาย

ผู้รีไซเคิลอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ต้องรับมือกับการถอดชิ้นส่วนและทำลายวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งนี้เป็นการสร้างวัสดุขนาดชิ้นต่างๆ ขึ้นมาอีกจำนวนมาก

การรีไซเคิลอิเล็กทรอนิกส์เป็นความท้าทาย ในการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด กระบวนการที่มีผลทางสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดฝุ่นอุตสาหกรรม ต้องทำโรงงานบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดอากาศเสีย ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

หลายโครงการได้รณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ ‘มือถือเก่าไป ชีวิตใหม่มา’ เป็นโครงการนำร่องสำหรับการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปลายทางของขยะอิเล็กทรอนิกส์คือแหล่งคัดแยกที่กระจายอยู่ทั่วไป

โดยรณรงค์ให้บริจาคโทรศัพท์มือถือเก่าในทุกสภาพเพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี

 

เมื่อมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นทั่วโลกเป็นจำนวนมหาศาล การประกาศพัฒนาโครงการรีไซเคิลครั้งใหญ่จึงเริ่มขึ้น

โดย Apple ได้พัฒนาหุ่นยนต์ Daisy หุ่นยนต์รีไซเคิลแยกชิ้นส่วน iPhone โดยลูกค้าในสหรัฐอเมริกาสามารถส่ง iPhone แยกชิ้นส่วนและรีไซเคิล

การพัฒนาของ Apple ได้เพิ่มจำนวนสถานที่ซึ่งลูกค้าในสหรัฐสามารถส่ง iPhone ไปให้ Daisy หุ่นยนต์รีไซเคิลแยกชิ้นส่วนมากขึ้น 4 เท่า

โดย Daisy จะแยกชิ้นส่วนและรีไซเคิล iPhone ใช้แล้วที่ลูกค้านำมาคืนที่ร้าน Best Buy ทั่วสหรัฐและร้าน KPN ในเนเธอร์แลนด์ ลูกค้าสามารถนำอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์มารีไซเคิลได้ที่ Apple Store ทุกสาขาหรือผ่าน apple.com/th ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Apple Trade In

โดย Apple ได้รับอุปกรณ์เกือบ 1 ล้านเครื่องจากโครงการเหล่านี้ และหุ่น Daisy แต่ละตัวก็สามารถแยกชิ้นส่วนอุปกรณ์ได้ 1.2 ล้านเครื่อง/ปี ในปี 2018 บริษัทได้นำอุปกรณ์ Apple กว่า 7.8 ล้านเครื่องไปประกอบใหม่ซึ่งช่วยลดการส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปฝังกลบกว่า 48,000 เมตริกตัน

ตอนนี้ Daisy สามารถแยกชิ้นส่วน iPhone ที่แตกต่างกัน 15 รุ่นได้ 200 เครื่อง/ช.ม. ซึ่งช่วยให้มีวัสดุสำคัญที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้เพิ่มขึ้นอีก

เมื่อวัสดุต่างๆ ผ่านกระบวนการแยกชิ้นส่วนจาก Daisy แล้วก็จะถูกนำกลับไปใช้ในกระบวนการผลิตต่อไป

ส่วนโคบอลต์ซึ่งเป็นวัสดุหลักของแบตเตอรี่นั้นแอปเปิ้ลจะส่งแบตเตอรี่ iPhone ที่ผ่านการคัดแยกชิ้นส่วนจาก Daisy ไปยังซัพพลายเชน จากนั้นชิ้นส่วนต่างๆ ก็จะถูกนำไปรวมกับเศษวัสดุจากแหล่งผลิต

โคบอลต์ที่ได้จากขั้นตอนนี้ก็จะนำไปใช้ทำแบตเตอรี่แอปเปิ้ลใหม่

นับว่าเป็นการหมุนเวียนวัสดุล้ำค่ากลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ แอปเปิ้ลยังใช้ดีบุกรีไซเคิล 100% ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของแผงวงจรหลักสำหรับผลิตภัณฑ์แอปเปิ้ลถึง 11 ประเภท

โลหะผสมอะลูมิเนียมของบริษัทที่ทำจากอะลูมิเนียมรีไซเคิล 100% ช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ๊นต์ของ MacBook Air และ Mac Mini ให้น้อยกว่ารุ่นก่อนๆ เกือบครึ่งหนึ่ง

โดยอะลูมิเนียมที่คัดแยกได้จากโครงการ Apple Trade In จะถูกนำไปหลอมเป็นตัวเครื่อง MacBook Air

 

“กระบวนการรีไซเคิลที่ล้ำหน้าต้องเป็นส่วนสำคัญของซัพพลายเชนอิเล็กทรอนิกส์ และ Apple ก็กำลังบุกเบิกหาหนทางใหม่ๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้ก้าวหน้า” Lisa Jackson รองประธานฝ่ายสิ่งแวดล้อม นโยบาย และโครงการริเริ่มเพื่อสังคมของ Apple กล่าว

“เราทำงานอย่างหนักเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าสามารถใช้งานได้ในระยะยาว และเราหวังว่าโครงการที่เข้าร่วมได้อย่างง่ายดายและมีประโยชน์มากมายเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ทุกคนนำอุปกรณ์เก่ามารีไซเคิล”

Apple ยังประกาศเปิดตัว Material Recovery Lab ที่สร้างขึ้นเพื่อคิดค้นกระบวนการรีไซเคิลในอนาคต

พร้อมผลักดันงานวิจัยด้านการรีไซเคิลให้ไปไกลกว่าเดิม

ตัวอาคารใหม่ขนาด 9,000 ตารางฟุตในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส พร้อมรองรับโซลูชั่นใหม่ๆ ที่นำหุ่นยนต์และการเรียนรู้ของระบบมาพัฒนาวิธีการแยกชิ้นส่วน คัดแยก และตัดเป็นชิ้นเล็กๆ

ทีมงานจากห้องแล็บจะทำงานร่วมกับทีมวิศวกรของแอปเปิ้ลและนักวิชาการ เพื่อหารือและเสนอวิธีแก้ไขปัญหาการรีไซเคิลของวงการอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

 

https://www.matichon.co.th/lifestyle/tech/news_1461452