E-DUANG : การปฏิเสธ ประยุทธ์  คสช. รัฐบาล แห่งชาติ คนกลาง

มีความแตกต่างกันหรือไม่ระหว่างข้อเสนอว่าด้วยรัฐบาลคนกลาง ว่าด้วยรัฐบาลแห่งชาติ ว่าด้วยรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ กับสัตยาบันเพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจคสช.

มีทั้งความแตกต่าง มีทั้งความเหมือน

ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญตรงที่สัตยาบันเพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจคสช. ต้องการรักษาระบบที่นายกรัฐมนตรีมา จากพรรคการเมือง มาจากการเลือกตั้ง

คณะที่รัฐบาลคนกลาง รัฐบาลแห่งชาติ รัฐบาลปรองดองแห่งชาติทะลายระบบออกไป

นั่นก็คือ พร้อมยอมรับ “คนนอก” เข้ามา

แต่จุดร่วมอย่างสำคัญก็คือ การปฏิเสธบทบาทและความหมายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

ขอให้ย้อนกลับไปพิจารณาแต่ละรายชื่อไม่ว่าจะเรียกว่ารัฐบาลคน กลาง ไม่ว่าจะเรียกว่ารัฐบาลแห่งชาติ ไม่ว่าจะเรียกว่ารัฐบาลปรองดองแห่งชาติ

รายชื่อ 1 คือ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี รายชื่อ 1 คือ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี

รายชื่อ 1 คือ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี รายชื่อ 1 คือ นายอำพน กิตติอำพน องคมนตรี

รายชื่อ 1 คือ นายกิตติชัย กิตยารักษ์ อดีตปลัดกระทรวง

รายชื่อ 1 คือ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการอังค์ถัดแห่งสหประชาชาติ

รายชื่อ 1 คือ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี

ขณะเดียวกัน ภายในรายชื่อทั้ง 7 และที่มีกล่าวถึงเป็นอย่าง มากอีกรายชื่อ 1 คือ รายชื่อของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย

น่าสนใจก็คือในรายชื่อทั้งหมดมีที่เกี่ยวพันกับพรรคการเมือง คือ นายชวน หลีกภัย กับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล

แต่ไม่มีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

ไม่ว่าข้อเสนอว่าด้วยรัฐบาลคนกลาง ว่าด้วยรัฐบาลแห่งชาติ ว่าด้วยรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ จะลงเอยอย่างไรภายหลังวันที่ 9 พฤษภาคม

แต่ที่แน่ๆก็คือเป้าหมายรวมตรงกับสัตยาบันต่อต้านการสืบทอดอำนาจคสช.

นั่นก็คือ ไม่มีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา