สมุนไพรมหิดล/คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล/ ชะมวง Garcinia cowa Roxb. ex Choisy GUTTIFERAE

สมุนไพรมหิดล/คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล

ชะมวง

Garcinia cowa Roxb. ex Choisy

GUTTIFERAE

ไม้ต้นขนาดกลาง เปลือกไม้สีน้ำตาลเข้ม แตกกิ่งมาก

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก คล้ายกระดาษ

ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ 3-8 ดอก ออกที่ปลายยอดหรือซอกใบ ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ก้านช่อดอกสั้นหรือพบน้อยมากที่ไร้ก้าน โคนดอกมีสี่ใบประดับ ใบประดับรูปลิ่มแคบ

กลีบดอกสีเหลือง ยาวกว่ากลีบเลี้ยงสองเท่า

เกสรเพศผู้ออกเป็นกระจุกสี่อัน เชื่อมติด รวมเป็นกระจุกที่ส่วนกลางสี่ด้านของอับเรณู 40-50 อัน มีหรือไม่มีก้านชูอับเรณู ส่วนมากสั้น อับเรณูสี่ช่อง ช่องยาวแตกได้ ไร้เกสรเพศเมียเป็นหมัน

ดอกเพศเมียมักเป็นแบบดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้

เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันเชื่อมติดกันที่ประมาณครึ่งหนึ่งและโคนรังไข่ที่เชื่อมติดอยู่

ก้านชูอับเรณูยาวหรือสั้น ปรกติพบว่าสั้นกว่ารังไข่ รังไข่รูปทรงรูปไข่ 4-8 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียเรียงเป็นรัศมี 4-8 พู มีปุ่มเล็ก ขนาด 6-7 มิลลิเมตร

ผลเป็นแบบผลสด ผลสุกทึบแสงสีเหลืองแกมน้ำตาล รูปทรงรูปไข่แกมรัปทรงกลม เบี้ยว ปรกติเป็นติ่งแหลมอ่อน 2-4 เมล็ด แคบ รูปกระสวย โค้งเล็กน้อย

ตำรายาไทยโบราณ ใช้ ใบ เป็นยาระบาย ราก แก้ไข้ ยาพื้นบ้านอีสานใช้

ราก ผสมรากปอด่อน (Helicteres hirsuta Lour.) รากตูมกาขาว (Strychnos nux-blanda A. W. Hill.) และรากกำแพงเจ็ดชั้น (Salacia chinensis L.) ต้มน้ำดื่ม รับประทานวันละสามครั้ง เช้า กลางวัน เย็น เป็นยาระบาย

ใบสด รับประทานหรือผสมในต้มหมูชะมวงรับประทานได้