โขน วัฒนธรรมร่วม ไทยสมัยอยุธยา รับจากเขมร โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

โขน วัฒนธรรมร่วม
ไทยสมัยอยุธยา รับจากเขมร

สุจิตต์ วงษ์เทศ

หน้ากากและคนมีหน้ากากคลุมหัว ราว 2,500 ปีมาแล้ว น่าจะเป็นต้นแบบหน้าโขนและหัวโขนในสมัยหลังๆ จากภาพเขียนบนเพิงผาเขาสามร้อยยอด อ. สามร้อยยอด จ. ประจวบคีรีขันธ์ (ภาพคัดลอกของกรมศิลปากร)

โขน วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ และ คนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ เพราะประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาทั้งของพื้นที่และผู้คน เป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ได้จากอุษาคเนย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายพันปีมาแล้ว (ยังไม่มีเส้นกั้นอาณาเขต) สืบเนื่องต่อมาจนสมัยปัจจุบัน จึงมีบรรพชนร่วม และ วัฒนธรรมร่วม

ไทยเป็นชื่อทางวัฒนธรรม มีขึ้นจากการหล่อหลอมคนหลากหลายเผ่าพันธุ์ ร้อยพ่อพันแม่ หลายพันปีมาแล้ว ทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม จนกลายตนเป็นไทย
ไทยไม่ใช่ชื่อเชื้อชาติ เพราะเชื้อชาติไม่มีจริงในโลก แต่เป็นสิ่งสร้างใหม่ในยุโรปใช้ล่าเมืองขึ้น และบางกลุ่มในยุโรปเคยใช้ทางการเมืองฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
เชื้อชาติจากยุโรปแพร่หลายถึงไทยราวหลัง พ.ศ. 2400