อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : จับกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุโรป

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

จากปีนี้จะเป็นปีเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองในหลายภูมิภาคพร้อมๆ กัน

อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังส่งผลซึ่งกันและกันอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก

บทความนี้อยากชี้ให้เห็นแนวโน้มบางประการในยุโรป

 

ยุโรปและเรื่องของพรมแดน

วันที่ 29 มีนาคม 2019 สหราชอาณาจักรมีกำหนดการการออกจากสหภาพยุโรป มีหลายๆ ด้านเกี่ยวกับการถอนตัวออกของสหราชอาณาจักรจากสหภาพยุโรป มีหลายๆ ด้านมากของการถอนตัวที่เกิดความคิดเห็นโต้แย้งอยู่ ความโกลาหลอย่างมากอาจเกิดขึ้นได้

แต่ในการถอนตัวนี้ เราควรกล่าวถึงชาวไอริชด้วย

คำถามของคนไอริชก่อให้เกิดความหมายใหม่ในยุคสมัยของ Brexit ด้วย กล่าวคือ เรื่องพรมแดน

ประเด็นเรื่องพรมแดน ถูกหยิบยกขึ้นมา จริงๆ แล้วเป็นเวลานานกว่า 4 ทศวรรษมาแล้วที่กฎหมายต่างๆ สานเข้าด้วยกัน กฎระเบียบต่างๆ เหนียวแน่นมากกว่าที่จะมีการแก้ไขและเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เหนียวแน่นที่สุดคือ กำลังตัดสินใจกันว่าจะทำอะไรกับพรมแดนของคนไอริชเมื่ออังกฤษออกจากสหภาพยุโรป

ในขณะที่ไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) เป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษและสาธารณรัฐไอร์แลนด์จะยังคงอยู่กับสหภาพยุโรป

ทั้ง 2 ด้านของพรมแดนได้ยึดมั่นต่อการไหลเวียนของผู้คนและสินค้าอย่างเสรีระหว่าง 2 ไอร์แลนด์หลังจาก Brexit

แต่สหภาพยุโรปไม่ต้องการให้ไอร์แลนด์เหนือกลายเป็นประตูหลังของสินค้ามาตรฐาน (1) แต่ข้อสรุปที่ชัดเจนที่สุดสำหรับสหราชอาณาจักรทั้งหมดยังคงอยู่ภายใต้กติกาต่างๆ ทางการค้าของสหภาพยุโรป

นี่เป็นเหมือนยาขมของพวกขี้สงสัยในรัฐสภาอังกฤษต่อร่างข้อตกลงระหว่างนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นางเทเรซา เมย์ กับสหภาพยุโรป คือเรียกร้องให้อังกฤษยังคงอยู่ในสหภาพศุลกากร (custom union) จนกว่าจะได้ข้อสรุป

 

ยูเครนกับระบอบคณาธิปไตย

4ปีหลังจากการปฏิวัติ Petro Poroshenko ผู้นำสูงสุดของประเทศยูเครนที่หนุนหลังโดยรัสเซีย ตอนนี้การถูกแทนที่ของเขาโดยผู้นำคนอื่นจากการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง แสดงให้เห็นภาพของเขากับการต่อสู้กับการถดถอยของอำนาจ

การเลือกตั้งในช่วงฤดูใบไม้ผลิในปี 2019 เป็นเหมือนหลุมพลางต่อ Petro Poroshenko ตัวเขาเองกำลังถูกต่อต้านจากกลุ่มต่างๆ ในสนามแข่งขันในการเลือกตั้ง รวมทั้งการต่อต้านและแข่งขันที่มาจาก Yulia Tymoshenko อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ใช้นโยบายประชานิยม (populism) และผู้เป็นฮีโร่ในการปฏิวัติสีส้ม (Orange Revolution) ในปี 2004 ที่ประเทศยูเครนใช้การเลือกตั้งถอนรากถอนโคนระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) และการคอร์รัปชั่น (2)

จะเห็นได้ว่า การรณรงค์ของอดีตนายกรัฐมนตรี Yulia Tymoshenko ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

อีกทั้งยังมีผลต่อนายกรัฐมนตรี Petro Poroshenko ซึ่งถูกโจมตีว่าเป็นผู้รับใช้ชนชั้นนำของประเทศยูเครน

การโจมตีเขามันเท่ากับเป็นการส่งสารโจมตีโดยตรงต่อยูเครน ประเทศที่ยากจนที่สุดเป็นอันดับ 2 ของยุโรป

แต่หากมองย้อนกลับไปดูให้ดีๆ นายกรัฐมนตรี Petro Poroshenko ไม่ใช่ไม่มีความสำเร็จทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจอะไรเลย

นายกรัฐมนตรีท่านนี้เดินทางเข้าออกโดยไม่ต้องใช้วีซ่าในสหภาพยุโรปได้ในฐานะพลเมืองยูเครน

นั่นหมายความว่า ผู้นำของยูเครนท่านนี้เป็นที่ยอมรับและนับถือของชาติต่างๆ ในยุโรปอยู่ไม่น้อย

ที่น่าสนใจ เขายังนำพาเศรษฐกิจของยูเครนให้กลับมาเจริญเติบโตอีกครั้งหนึ่ง

หากทว่าเขาเองก็ล้มเหลวในการยุติการทำสงครามที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัสเซียในยูเครนตะวันออก (Eastern Ukraine)

แต่ที่แย่ที่สุดคือ ตัวเขาอยู่ในถ้ำอันใหญ่โตมโหฬารของการติดสินบน

คำสัญญาต่างๆ ล่าสุดก่อนการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงนับเป็นคำสัญญาที่ต่ำต้อยกว่าที่ใครๆ คาดคิด แม้แต่คำสัญญาการให้ยูเครนอยู่ในการบูรณาการ (integration) กับสหภาพยุโรปและการเป็นสมาชิกของนาโต้ (NATO)

ซึ่งแท้จริงแล้วยูเครนยังคงอยู่ในการบูรณาการทางเศรษฐกิจและร่มเงาความมั่นคงของนาโต้ต่อไปอีกหลายปี แม้ว่าการอยู่ร่วมนั้นสำหรับยูเครนแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายๆ หรือที่เขาเรียกว่าไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบก็ตามที

แต่สิ่งเหล่านี้ ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาปลอดภัยและเอาชนะการเลือกตั้งได้ แท้จริงแล้วต้องดูรากฐานที่เป็นพลังทางเศรษฐกิจการเมืองที่สนับสนุนเขาก้าวขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองในบริบทของยูเครน นั่นคือ การปฏิวัติ (revolution) การปฏิวัติที่ให้พันธะที่ชัดเจนแก่ Petro Poroshenko เพื่อถอนรากถอนโคนระบอบคณาธิปไตยและการคอร์รัปชั่นที่ฝั่งรากลึกในยูเครน รวมถึงตัวเขาเองได้เป็นส่วนหนึ่งของระบอบนี้ด้วย

เรากำลังเห็นการไหลลื่นอย่างเสรีของผู้คนและสินค้าถูกสกัดกั้นด้วยพรมแดน ที่ประกอบสร้างขึ้นมาพร้อมด้วยความสับสนอลหม่านในยุโรป ในเวลาเดียวกัน เราก็เห็นการต่อสู้กันโดยผ่านระบบการเลือกตั้งที่ต้องการการถอนรากถอนโคนระบอบคณาธิปไตยและการคอร์รัปชั่นในประเทศที่ยากจนมากแห่งยุโรปอย่างยูแครน

แล้วเราจะเห็นอะไรจากการเลือกตั้งในไทย หลังจากที่เราห่างหายจากการเลือกตั้งมานาน

————————————————————————————————————
(1) Emmar Ross-Thomas, “Borders 2020” Bloomberg Businessweek Special Issue 19 November 2018-6 January 2019.
(2) Daryna Krasnolutska, “Pretro Poroshenko” Bloomberg Businessweek Special Issue 19 November 2018-6 January 2019.