บทวิเคราะห์ : “สงครามชิพ” การแข่งขันและการช่วงชิงมหาอำนาจเทคโนโลยี

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

ชิพนี้ผมหมายถึง Chip อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หาใช่คำหยาบในภาษาไทยใดๆ ไม่

หากทว่าบทความนี้ต้องการชื้ให้เห็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน

ในขณะนี้

 

สงครามชิพ : ความหมาย

ความจริงข้อพิพาททางการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกากับสาธารณรัฐประชาชนจีนอาจให้ความรู้สึกเก่าๆ ก็ได้ เพราะเป็นการใช้ภาษีศุลกากร (tariff) เป็นอาวุธหลัก

หากเป็นตลาดเก่า (old market) ภาษีศุลกากรจะเป็นสนามรบของรถยนต์ไปจนถึงเหล็ก แต่ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีนในศตวรรษที่ 21 ครั้งนี้เป็นสงครามด้านเทคโนโลยี อันครอบคลุมตั้งแต่ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence-AI) ถึงอุปกรณ์ด้านเครือข่าย (network equipment)

โดยพื้นฐานของการต่อสู้คือ เซมิคอนดักเตอร์ (semiconductor) สงครามชิพซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมด้านนี้และมหาอำนาจอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความมุ่งมั่นที่จะแข่งขันโดยตรง

ทั้งนี้ก็เพราะว่า ชิพคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานต่างๆ ของดิจิตอล อีโคโนมี (digital economy) และความมั่นคงแห่งชาติ (national security)

รถยนต์กลายเป็นขับเคลื่อนด้านล้อคอมพิวเตอร์ ธนาคารคือคอมพิวเตอร์ซึ่งเคลื่อนย้ายเงิน กองทัพต่อสู้กันในซิลิคอน (silicon) และเหล็ก

บริษัทต่างๆ จากสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลีและไต้หวัน เป็นผู้นำส่วนที่ก้าวหน้าที่สุดในอุตสาหกรรมนี้

ในทางตรงกันข้าม สาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงพึ่งพิงต่อโลกภายนอกสำหรับซัพพลายของชิพคุณภาพสูง

สาธารณรัฐประชาชนจีนมีการนำเข้าเซมิคอนดักเตอร์มากกว่านำเข้าน้ำมัน

ก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะก้าวเข้ามาสู่สภาวะเช่นนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้วางแผนและมุ่งมั่นที่จะแข่งขัน

ในปี 2014 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศลงทุนด้วยเงิน 150 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศของตน

เซมิคอนดักเตอร์เป็นภาพที่ครอบครองหลักในนโยบายผลิตโดยจีน 2025 (Made in China) แผนพัฒนาแห่งชาติของจีนที่ประกาศในปี 2015

ความมุ่งมั่นของสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อก้าวถึงขั้นการแข่งขันเชิงอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ได้สร้างความกังวลให้กับผู้นำสหรัฐอเมริกาก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีบารัค โอบามา (Barak Obama) สกัดกั้นการขายอุปกรณ์ชิพของบริษัท Intel เข้าไปในสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2015

ในรายงานฉบับหนึ่งของทำเนียบขาวมีการรายงานข้อแนะนำให้ดำเนินการต่อต้านบริษัทลูกของสาธารณรัฐประชาชนจีนและการบังคับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของบริษัทต่างชาติต่อบริษัทสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศอื่นๆ ได้รับสัญญาณเตือนด้วยเช่นกัน ไต้หวันและสาธารณรัฐเกาหลีมีนโยบายต่างๆ เพื่อยุติการสั่งซื้อของบริษัทผลิตชิพของสาธารณรัฐประชาชนจีน อีกทั้งปฏิเสธการถ่ายทอดทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property)

แม้ว่าการทำสงครามชิพอาจเกิดขึ้นก่อนยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แล้วก็ตาม ในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ขยายการทำสงครามชิพนั้น เขาไม่ให้บริษัทชั้นนำด้านคอมพิวเตอร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน Qualcomm เข้าไปลงทุนในบริษัทคอมพิวเตอร์ของสิงคโปร์ เหตุเพราะกลัวการแข่งขันของบริษัทจีน

ก่อนหน้านั้นไม่นาน มีการสั่งห้ามการส่งออกการขายชิพและซอฟต์แวร์อเมริกันต่อบริษัทโทรคมนาคมของจีน ZTE จนนำมาซึ่งการล้มละลายของบริษัทในเวลาไม่นานนัก

 

สิ่งที่เกิดขึ้น

การเริ่มต้นโดยการทำลายซึ่งกันและกันของทั้งสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีนในสงครามชิพมี 2 สิ่งได้เปลี่ยนแปลงไป

ประการที่ 1 สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักว่า ความเหนือกว่าทางด้านเทคโนโลยีของตนให้โอกาสของตนมีพลังอำนาจเหนือกว่าสาธารณรัฐประชาชนจีน การผลักดันการควบคุมการส่งออก (export ban) ส่งผลเสียต่อบริษัทจีน Fujian Jinhua อีกบริษัทจีนที่ถูกกล่าวหาว่าขโมยความลับ อีกทั้งทำเนียบขาวกำลังขยายการห้ามส่งออกเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น

ประการที่ 2 เป้าประสงค์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนเรื่องเซมิคอนดักเตอร์โดยการพึ่งพิงตัวเองกลายเป็นเหมือนการพุ่งขึ้นของจรวด

หลักจากกรณี ZTE ประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง ได้พูดคุยกับบรรดาบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของสาธารณรัฐประชาชนจีน ยักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีเหล่านั้นอยู่ต่างประเทศ ได้แก่ Alibaba, Baidu และ Huawei กำลังรวบรวมเงินทุนเพื่อพัฒนาและสร้างชิพ (1)

อีกทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แสดงให้เห็นว่า บริษัทเทคโนโลยีของประเทศเขาสามารถติดตามใกล้ชิดบริษัทเทคโนโลยีอเมริกัน

เมื่อไม่นานนี้เอง บริษัท Qualcomm ยกเลิกการเข้าประมูลบริษัทเทคโนโลยีของเนเธอร์แลนด์ บริษัท NXP

กล่าวได้ว่าไม่มีผลประโยชน์แห่งชาติของประเทศใดเปลี่ยนแปลง

สหรัฐอเมริกามีความชอบธรรมในความห่วงใยเกี่ยวกับผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติของตนหากยังคงพึ่งพาชิพของจีนและอ่อนไหวให้เกิดการ “แฮ็ก” ข้อมูล สำหรับการคาดการณ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อก้าวสู่มหาอำนาจหนึ่งยังคงมองดูเป็นโพรง ตราบเท่าที่สหรัฐอเมริกาสามารถทำให้บริษัทเทคโนโลยีจีนพัฒนาช้าลงตามที่ตนเองปรารถนา

โดยย่อคือ ความใฝ่ฝันของสาธารณรัฐประชาชนจีนคือเพียรพยายามวิ่งตามให้ทันบริษัทเทคโนโลยีอเมริกัน ส่วนสหรัฐอเมริกาวางเป้าหมายให้บริษัทเทคโนโลยีของตนอยู่ในสถานะล้ำหน้าต่อไป

คำถามที่ตอบยากเย็นคือ การแข่งขันในระยะยาวแบบไหนที่สหรัฐอเมริกาควรจะต้องเดินต่อไป

กลุ่มนิยมลัทธิปกป้องทางการค้า (Protectionist) ในทำเนียบข่าวไม่มีข้อสงสัยถึงการเคลื่อนย้ายซัพพลายเชน (supply chain) ด้านเซมิคอนดักเตอร์มาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ช่างโชคดีเหลือเกิน อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โดยตัวของมันเองมีลักษณะโลกาภิวัตน์ หนึ่งบริษัทเทคโนโลยีอเมริกันมีซัพพลายเออร์ประมาณ 16,000 แห่ง และมากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ต่างประเทศ

แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนคือตลาดใหญ่ของบริษัทพวกนี้ บริษัทสาธารณรัฐประชาชนจีน Qualcomm ทำการขายมากถึง 2 ใน 3 ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน อันอาจกระทบต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาก็ได้

ดังนั้น มันจึงเป็นการต่อสู้ที่ยังพร่ามัวในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ จนทำให้มองไม่เห็นความแตกต่างระหว่างการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมและแท้จริง

อย่างไรก็ตาม แม้เราอาจยังไม่เข้าใจอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มากนัก แต่นี่เป็นสงครามในศตวรรษที่ 21 ของโลก เป็นสงครามของเทคโนโลยีของทั้งการไหลเวียนของเงิน ล้อรถยนต์คอมพิวเตอร์ ที่มีฐานรากจากเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์

นี่เป็นความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี

————————————————————————————————————————–

(1) “Chip wars” The Economist 1-7 December 2018 : 11.