จรัญ มะลูลีม / อันวาร์ อิบรอฮีม : สันติภาพและความรุนแรงในปาเลสไตน์

จรัญ มะลูลีม

อันวาร์ได้ตอบรับข้อเสนอข้างต้นในการนำเสนอความคิดเห็นของเขาด้วยการยกย่องจิตวิญญาณแห่งความใจกว้างของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่อนุญาตให้มีการนำเสนอทัศนะต่างๆ ได้อย่างเสรี

เป็นการแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยส่งเสริมวาทกรรมที่มีเหตุผลในบรรยากาศของความเข้าใจซึ่งเป็นที่ต้องการอยู่ในประเทศต่างๆ ของพวกเรา

ด้วยการยกย่องรัฐบาลไทยเขาได้แสดงให้เห็นว่าตัวเขาเองก็เช่นกันที่เวลานี้เป็นอิสระที่จะกล่าวในสิ่งที่ต้องการจะกล่าวได้ แต่หากว่าเขามีตำแหน่งใดในรัฐบาล อันวาร์กล่าว เขาก็จะต้องทำตามกฎเกณฑ์ของพิธีการต้อนรับและความถูกต้องทางการทูต

อันวาร์กล่าวต่อไปว่า มาเลเซียเป็นประเทศประชาธิปไตยมาโดยตลอด มีการขับไล่รัฐบาลที่ฉ้อโกงผ่านการเลือกตั้งที่สงบและยุติธรรม และตัวเขาเองก็เคยถูกความยุติธรรมผ่านเลยไปด้วยการถูกจองล้างจองผลาญต้องจำคุกและถูกจู่โจม

ทั้งหมดนี้ชาวปาเลสไตน์ล้วนเผชิญมาแล้วทั้งสิ้น

เขากล่าวว่า แม้ปัญหาที่เกิดขึ้นจะใกล้ชิดกับโลกมุสลิม แต่มันก็ไม่ได้เป็นแค่ปัญหาของชาวมุสลิมเท่านั้น มันเป็นเรื่องของความยุติธรรมและความเป็นมนุษย์ ความยุติธรรมที่อยู่เหนือพื้นที่ของชาติ ศาสนา และความแตกต่างทางเชื้อชาติ

ด้วยการวิพากษ์ “บรรดาผู้มีปัญญาของโลก” ที่ยอมให้การกดขี่ดำรงอยู่ต่อไป อันวาร์ยังได้พูดถึงบทบาททางประวัติศาสตร์ของเจ้าอาณานิคมและความสลับซับซ้อน ตลอดไปจนถึงอำนาจนำของมหาอำนาจในการเมืองแห่งการยึดครอง

เขาบอกว่า ในปี 1948 เราพูดถึงการเมืองแห่งการยึดครอง กระนั้นในปี 2018 เวสต์แบงก์และกาซาก็ยังคงถูกขืนใจต่อไป

และดูเหมือนโลกจะเงียบเฉยและไม่อาจทำอะไรใดๆ ได้

เขากล่าวว่า สิ่งนี้จะยังคงดำเนินต่อไปในขณะที่ผู้นำของโลกพูดถึงเสรีภาพและความยุติธรรมจนนำไปสู่มายาภาพที่กำลังเติบโตพร้อมไปกับสันติภาพและความยุติธรรมด้วยเช่นกัน

 

ด้วยการนำตัวเองไปอยู่ร่วมกับชาวปาเลสไตน์ เขากล่าวว่า “ผืนแผ่นดินของผมถูกยึดเอาไป บ้านของผมถูกทำลายและลูกหลานถูกขับไล่ แล้วผู้คนคนหนึ่งคนใดของศาสนาใดๆ จะยอมให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้เล่า?

นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษยชาติ พวกเขา (มหาอำนาจ) ได้เคยให้ความสนใจในเรื่องความยุติธรรมกันบ้างไหม?

เขาจึงวิจารณ์การตัดสินใจของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ให้ย้ายสถานทูตอิสราเอลไปยังนครเยรูซาเลมอย่างรุนแรง

“นี่ไม่ได้เป็นแค่เรื่องเนื้อที่แห่งผืนแผ่นดินหรือประวัติศาสตร์หรือกลไกทางการเมืองของบรรดาผู้นำ เรากำลังพูดถึงชีวิตและอนาคตของพี่ชายและน้องสาวของเราที่ถูกทำให้ต้อยต่ำปีแล้วปีเล่า ทศวรรษแล้วทศวรรษเล่าโดยไม่มีความหวังอันใกล้และการยุติลงของปัญหาที่แลเห็นได้”

“ผมมีความเข้าใจโดยส่วนตัวถึงความทุกข์ทรมานและการทำร้ายร่างกาย (ชาวปาเลสไตน์) อย่างที่ตัวผมเคยถูกโจมตีจนใกล้จะตายมาแล้ว ท่านจะต้องเข้าใจการต่อสู้และประวัติศาสตร์ทางสังคมก่อนที่ท่านจะอ้างไปถึงประเด็นปัญหาใดๆ ของความรุนแรงที่เกิดขึ้น”

เขายังได้วิจารณ์สื่อระหว่างประเทศที่ใช้กระบวนการตำหนิเหยื่อ ในขณะที่การรวบผืนแผ่นดินยังคงมีอยู่ต่อไป หมู่บ้านแล้วหมู่บ้านเล่าถูกทำลายลง ปฏิกิริยาของสื่อระหว่างประเทศก็เป็นอย่างที่เป็น นั่นคือ การอ้างถึงแต่ความรุนแรงของชาวปาเลสไตน์

มีการปล้นชิงและการยึดเอาผืนแผ่นดินไปกลางวันแสกๆ แต่ท่านก็ยังเงียบ มีแต่พูดถึงความโหดร้ายและอาชญากรรมของผู้ที่ปกป้องตัวของพวกเขาเองอยู่ตลอดเวลา

รัฐบาลของประเทศอาหรับไม่อาจทำอะไรได้เลยเนื่องจากประชาธิปไตยและความยุติธรรมของตนเองที่ไม่สมดุล เมื่อเป็นเช่นนี้ เขากล่าว จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับโลกมุสลิมที่จะต้องทำบ้านตัวเองให้เป็นระเบียบเสียก่อนอย่างที่มาเลเซียส่งเสริมให้ทำ

 

เขายกตัวอย่างที่เป็นประเด็นทางกฎหมายด้วยการอ้างไปถึงอียิปต์ ซึ่งคนนับร้อยสามารถที่จะถูกส่งเข้าไปสู่การดำเนินคดีพร้อมๆ กันและถูกคำสั่งประหาร มันเป็นความยุติธรรมชนิดไหนกันแน่ แล้วท่านจะปกป้องสิทธิของชาวปาเลสไตน์อย่างไร เมื่อท่านเองก็ไม่อาจปกป้องผู้คนของตนเองได้

อันวาร์ยังได้ให้ข้อสังเกตถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างปัญหาของชาวปาเลสไตน์และความโหดร้ายที่มีต่อชาวมุสลิมโรฮิงญาในเมียนมาและแปลกใจว่าผู้นำอย่างออง ซาน ซูจี ซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้รับความนิยมและการสนับสนุน ที่เวลานี้เงียบเฉยต่อการเมืองของการครอบครอง ซึ่งเกิดในประเทศของตัวเอง

ถึงเวลาแล้วสำหรับประเทศในอาเซียนอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ ที่ต้องพูดกันออกมาและจะต้องมีการขับเคลื่อนโดยจะต้องไม่มีการเมินเฉยอีกต่อไป แล้วการเข้าเกี่ยวพันอย่างสร้างสรรค์คืออะไร

ทำไมท่านจึงไม่เข้าไปแก้ไขปัญหาเมื่อท่านเห็นการยึดครองที่ชัดเจนอยู่แล้ว?

เช่นเดียวกับชาวปาเลสไตน์ เราจะต้องคุยกันให้มากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อยึดโยงกับการแก้ปัญหาที่มั่นคงเพื่อปกป้องชีวิตและความยุติธรรมของพวกเขา ใช่แล้ว พวกเขาส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม

แต่ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากก็เป็นชาวคริสต์และพวกเขาก็เผชิญกับการเลือกปฏิบัติและความโหดร้ายและมีบางอย่างที่คล้ายคลึงกับระบอบการแบ่งแยกผิวสี

เขาเรียกร้องให้เก็บเรื่องนี้ไว้ให้มีชีวิตด้วยการให้ข้อสังเกตว่านี่เป็นศักราช “หลังช่วงเวลาแห่งความเป็นปกติสุข”

ประเทศต่างๆ อย่างเช่นสหรัฐ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นป้อมปราการของการค้าเสรีและประชาธิปไตย ก็ไม่ได้เป็นอีกแล้ว

จีนซึ่งเคยปิดประเทศ เป็นสังคมการปกป้องการค้า ในเวลานี้กำลังโต้แย้งกันอยู่ในเรื่องการค้าเสรี

“แม้แต่ในมาเลเซีย ที่ไม่มีใครคิดว่ามหฏิรกับอันวาร์จะทำงานร่วมกันได้?”

ผู้ที่มาพูดคนสำคัญอีกคนหนึ่งในการสัมมนาครั้งนี้คือแอนน์ ไรต์ (Ann Wright) ทหารอเมริกันยศนายพันที่เกษียณอายุแล้ว

แอนน์ ไรต์ เป็นเจ้าหน้าที่ทหารและนักการทูต ซึ่งเป็นหนึ่งในอดีตเจ้าหน้าที่กลุ่มใหญ่ของสหรัฐที่ต่อต้านนโยบายของสหรัฐเอง

พวกเขาเข้าร่วมด้วยเสียงแห่งสติสำนึก โดยไม่เห็นด้วยกับสื่อสหรัฐและกลุ่มที่สนับสนุนไซออนิสต์อิสราเอล (pro-Israel Zionist lobby groups) ด้วยการให้การสนับสนุนทางการเงินจำนวนมหาศาล และสร้างอิทธิพลทางการเมืองอยู่ในรัฐบาลสหรัฐจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่สืบทอดตามกันมาจนถึงปัจจุบัน Provision ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาเริ่มขึ้นในปี 1980 ตามโปรแกรมความร่วมมือทางเทคนิคของมาเลเซีย Malaysian Technical Cooperation Program (MTCP) ภายใต้ “ความร่วมมือ South-South” (South-South Cooperation) ที่กำหนดขึ้นโดยนายกรัฐมนตรีมหฏิร โมฮัมมัด(1)

 

สมัยหลังมหฏิร

เขามีความผูกพันกับการวางนโยบายต่างประเทศ และจุดยืนที่มีต่อนโยบายที่มองเห็นได้ทำให้เขาได้รับการ exception ในนโยบายต่างประเทศ ซึ่งนโยบายของเขาได้รับการนำเอามาใช้และ Mitigated โดยผู้ที่สืบทอดตำแหน่งต่อจากเขา

อันเนื่องมาจากการลงจากตำแหน่งของมหฏิรอะห์มัด บาดาวี (2003-2009) ก็หันกลับมาใช้การจัดวางความสมดุลของตุนกูรอซัคและฮุสเซนออนอีกครั้ง

บาดาวีซึ่งไม่ค่อยออกมาพูดบ่อยนัก มุ่งความสนใจไปที่ความสัมพันธ์ทางทวิภาคีที่วางอยู่บนผลประโยชน์แห่งชาติของมาเลเซีย ในทางที่ส่งเสริมการเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างองค์กรแห่งภูมิภาคอย่าง ASEAN(2)

ในสมัยของนาญิบ รอซัก ซึ่งขึ้นมาสู่อำนาจในปี 2009 มีข้อสังเกตในยุทธศาสตร์ของเขาอยู่สองประการ

ประการแรก เขายังคงเน้นไปที่นโยบายต่างประเทศในฐานะที่เป็นหนทางไปสู่การส่งเสริมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (3)

ประการที่สอง รอซักมิได้เปลี่ยนแปลงแต่ปรับเอาการส่งเสริมมโนทัศน์ขนาดใหญ่ในระดับภูมิภาคด้วยการทำเช่นนี้ ยุทธศาสตร์ของเขาคือการนำเอาคุณภาพแห่งนโยบายต่างประเทศของตุนรอซัก ซึ่งเป็นบิดาของเขา รวมทั้งของฮุส เซน ออน และมหฏิร โมฮัมหมัด มาใช้(4)

ดังนั้น นโยบายต่างประเทศของมาเลเซียจึง OSCIllated ระหว่างสมดุลและการเลือก โดยเข้าไปเกี่ยวข้องจากการสนับสนุนตะวันตกไปจนถึงความเป็นกลางและการถอยห่างออกมา อันเป็นนโยบายที่ EVEN ด้วยการใช้นโยบายมองตะวันออก (Looking East) เคียงคู่ไปกับการซื้อของจากประเทศอังกฤษเป็นประเทศสุดท้าย (Buy British Last) และท้ายที่สุดคือความสมดุลและยุทธศาสตร์การโต้กลับ

ความ VARiation ดังกล่าวตามมาด้วยความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ(5) ความสมดุลจึงเป็นหนทางที่จะรักษาเสถียรภาพทางการเมืองของมาเลเซียเอาไว้

บทบาทของมาเลเซียในภาพระหว่างประเทศก็คือการใช้ยุทธศาสตร์ของการเป็นมหาอำนาจขนาดกลาง ทั้งนี้ รัฐบาลจะอยู่ในตำแหน่งของตัวเองที่หลากหลายในระดับต่างประเทศ การประกอบสร้างนี้มีความเกี่ยวพันกับการวางตำแหน่งของประเทศในฐานะของผู้ให้ที่กำลังเติบโต

ในทศวรรษที่ 2 ของการเป็นนายกรัฐมนตรี มหฏิร โมฮัมหมัด ได้กล่าวถึงมโนทัศน์ 2020 หนทางที่อยู่ข้างหน้า (Vision 2020 : The Way Firward) การพูดครั้งนี้มหฏิรได้ให้ความคิดถึงเส้นตายระยะกลางเพื่อให้แลเห็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจของมาเลเซียที่พัฒนาแล้ว(6) การพูดดังกล่าวมีผลต่อนโยบายมโนทัศน์ 2020 ซึ่งถึงวันนี้มาเลเซียมุ่งที่จะอยู่ในประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2020 นโยบายดังกล่าวสะท้อนถึงยุทธศาสตร์ที่หลากหลายเพื่อให้ได้มาซึ่งสถานะของการพัฒนา(7) หรือกล่าวในอีกทางหนึ่งได้ว่ายุทธศาสตร์ดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับแนวความคิดการเป็นมหาอำนาจขนาดกลาง (middle powerism)(8) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์มหาอำนาจขนาดกลางของมาเลเซีย

ดังนั้น มาเลเซียจึงลงทุนในความเป็นผู้นำในอาเซียนและแสดงกรณีที่มาเลเซียสนใจให้เห็น จากการเข้าไปเกี่ยวข้องของมาเลเซียอาเซียนจึงเป็นเจ้าของเส้นตายของตนเองสำหรับมโนทัศน์ 2020 ซึ่งมุ่งหวังที่จะนำไปใช้ในประชาคมอาเซียนตามที่ได้มีกำหนดเอาไว้

โดยเบื้องต้นอาเซียนยังแสดงให้เห็นแรงขับเคลื่อนทางการเมืองเพื่อเสถียรภาพและความมั่นคง(9) ความเกี่ยวข้องด้านความมั่นคงของมาเลเซีย สามารถเห็นได้ในกระบวนการประชาคมอาเซียนเกิดการยอมรับภูมิภาคที่เข้มแข็ง(10)

—————————————————————————————————————
1Ministry of Foreign Affairs Malaysia, 2015
2Baginda,2007, p.xii.
3Khalid, 2011, p.437
4Khalid, 2011, pp.433, 439-440
5Hamid, 2005, p.18
6Mohammad, 1991
7Kaim, 2013, ppo.39-40
8Nossal and Stubbs, 1992 cited in Karim, 2013, p.35
9Kharins, 2013 pp. 11-12
10Ahmad and Chendran, 2013 p.84