น้ำตาแผ่นดิน โดย สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร

สถานีคิดเลขที่ 12 / สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร

—————-

น้ำตาแผ่นดิน

————————–

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย(รปช.)นำสิ่งที่ได้จากการเดิน “คารวะแผ่นดิน”

ในพื้นที่กทม. ภาคใต้ และภาคกลางบางส่วน

มาบอกกล่าวสาธารณะ

ด้วยชี้ว่าปัญหาด้านเศรษฐกิจ กำลังรุมเร้าอย่างหนัก

โดยต่างจังหวัดนั้น

นายสุเทพ ใช้คำว่า “สาหัส”

หากไม่แก้ปัญหาจะทำให้เศรษฐกิจฟุบ

แล้ว”ใครไม่แก้ปัญหา”

–นั้นต้องย้อนกลับไปถาม “รัฐบาลของเรา”ที่นายสุเทพ สนิทสนม เพราะบริหารประเทศ มา4-5 ปี

พร้อมยังมีคำถามอีกว่า นายสุเทพ มีเป้าประสงค์อะไรสำหรับการฟ้องต่อสังคมในกรณีนี้

หลายคนอาจมองว่านี่เป็น”ปฏิบัติการ”อีกครั้งในการเรียกร้องความสนใจจาก “คนกันเอง(ของนายสุเทพ)”

ด้วยทราบกันดี ตอนนี้ รปช.หายไปจาก”เกม”แห่งการชิงอำนาจอย่างน่าสังเกตุ

ขณะที่ ทีมเศรษฐกิจ 4 กุมาร ที่น่าจะมีส่วนรับผิดชอบกลับ โดดเด่นและโตวันโตคืนในพลังประชารัฐ(พปชร.)

ตรงกันข้ามกับที่รปช.ที่ประกาศหนุนและยืนเคียงข้างผู้มีอำนาจมาตั้งแต่ต้น ส่อที่จะหลุดวงจรมากขึ้นทุกที

นายสุเทพจึงอาจจะข้องใจว่าทำไมอุ้มชูเฉพาะ พปชร.

รปช.ต่างหากที่ลงไปสัมผัสความจริง ควรจะได้รับการเอาใจใส่

คนจำนวนหนึ่งจึงประเมิน “เป้า”ที่นายสุเทพออกโรงครั้งนี้ ก็เพื่อมิให้รปช.”ตกขบวนแห่งอำนาจ”

“เราได้ร่วมรัฐบาลแน่”ยังนาจะเป้นเป้าหมายสูงสุดที่ดำรงอยู่ และควรจะได้รับเอาใจใส่จากฝั่งฟากผู้มีอำนาจต่อไป

วิเคราะห์เช่นนั้นก็ดูมีเค้า

แต่อาจจะประเมินนายสุเทพ ในทางร้ายไปหน่อยไหม

เพราะว่าที่จริง สิ่งที่นายสุเทพ นำเสียงแห่งแผ่นดิน มารายงานต่อสังคม ใครจะปฏิเสธว่าไม่จริง

คำว่า”สาหัส” พอจะสัมผัสได้

ยิ่งเมื่อไปอ้างอิงกับกับรายงานเศรษฐกิจที่เป็น”วิชาการ”

นับตั้งแต่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยว่า ในปี 2561

ครัวเรือนไทยมีหนี้เฉลี่ย 316,623 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.8%

เป็นสัดส่วนหนี้ในระบบ 64.7% และหนี้นอกระบบ 35.3%

ปัจจัยที่ทำให้ปริมาณหนี้สินเพิ่มขึ้นฃมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

ราคาสินค้าเกษตรหลายตัวฃอยู่ในระดับต่ำ, ค่าครองชีพสูง

ซึ่งก็สอดคล้องกับ ข้อมูล “คาระแผ่นดิน”ชนิดเป็นเนื้อเดียวกัน

ขณะที่ นายบรรยง พงษ์พานิช อดีตคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำ

ปรากฏว่าไทยถูกจัดอันดับ 1 ในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดในโลก

ตามข้อมูลของ CS Global Wealth Report 2018 ที่ออกมาเมื่อเดือนตุลาคม

ปรากฏกว่าเมื่อ 2 ปีที่แล้ว (2016) คนไทย 1% มีทรัพย์สินรวม 58.0% ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ

มาปีนี้(2018)คนไทย 1% มีเพิ่มเป็น 66.9% รวยขึ้นมหาศาล

ขณะที่คนไทยที่จนสุด 10% มีทรัพย์สิน 0% (จริงๆ

ถ้านับ 50% (25 ล้านคน)ก็ยังมีทรัพย์สินแค่ 1.7%

และถ้าเอา 70% (35 ล้านคน) ก็เพิ่มทรัพย์สินไปเป็นแค่ 5%

“ไอ้ 1% มันเอาไปหมด …สะท้อนว่า คนครึ่งประเทศ เป็นพวก”หาเช้ากินค่ำ”หรือไม่ก็”เดือนชนเดือน” ไม่มีเหลือเก็บเหลือออม”

นายบรรยง พงษ์พานิชระบุ

ปรากฏว่ามีการตอบโต้จากฝ่ายรัฐบาลหลายฝ่าย

โดยเฉพาะสภาพัฒน์ อ้างว่าเป็นตัวเลขเก่า และใช้การเปรียบเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วตัวเลลขจึงบิดเบือน

สถานการณ์เหลื่อมล้ำจึงไม่ได้สูงสุดในโลก ตัวเลขธนาคารโลกก็ไม่ได้ชี้เช่นนั้นและชี้วามเหลื่อมล้ำของไทยดีขึ้น

แต่ในท่ามกลางการตอบโต้นั้น

ไม่มีใครปฏิเสธว่าไทยไม่มีปัญหาความเหลื่อมล้ำ และยังอยู่ในระดับสูง

จำเป็นต้องแก้ไข

นั่นแหละคือสิ่งที่น่าวิตกและ”สาหัส”ไม่ต่างจากคำพูดของนายสุเทพ เท่าไหร่หรอก

——————