สมุนไพรมหิดล / คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล/ลำเจียก

สมุนไพรมหิดล / คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล

 

ลำเจียก (Screw-pine, Padang)

Pandanus odorifer (Forssk.) Kuntze

PANDANACEAE

 

ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นจะแตกเป็นกอใหญ่ สูง 3-6 เมตร บริเวณโคนต้นมีรากอากาศโผล่ออกมา ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน เกลี้ยง

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบยาว ปลายใบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง สีเขียว คล้ายแผ่นหนัง ลักษณะคล้ายกับใบสับปะรด คือใหญ่ ยาวและหนา ขอบใบเป็นจัก มีหนามแหลม ท้องใบมีแกนกลาง

ดอกช่อ แยกเพศอยู่ต่างต้น กาบสีขาว เรียวแหลมยาวคล้ายหาง โผล่ออกมาจากกลางลำต้นพอดี

ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานในเวลาตอนเย็นและมีกลิ่นหอมฉุน

ดอกย่อยขนาดเล็ก รวมกันเป็นดอกช่อเชิงลดมีกาบคล้ายช่อแบบหางกระรอก ไม่มีก้านดอกย่อย

ช่อเชิงลดมีกาบหลักจำนวนมาก ช่อเชิงลดรูปทรงกระบอก หุ้มด้วย  กาบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก อับเรณูเป็นติ่งแหลมติดรวมกับส่วนบน ช่อเชิงลดมีกาบเพศเมียหุ้มด้วยกาบ รังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกับดอก ไร้ยอดชูเกสรเพศเมีย ออวุลเดี่ยว ตั้ง

ผลรวม ทรงกลมแกมขอบขนาน สีแดง เปลือกแข็ง เมล็ดขนาดเล็ก

ราก รสเย็นและหวานเล็กน้อย

ตำรับยาโบราณ ปรุงเป็นยาแก้พิษเสมหะ พิษไข้ พิษเลือด ขับปัสสาวะ

รากอากาศที่โผล่ออกมาจากโคนต้นนั้น ปรุงเป็นยาแก้หนองใน แก้ปัสสาวะพิการ แก้กษัยไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับนิ่ว แก้หนองใน แก้หมาดขาว (ระดูขาว) มีกลิ่นเหม็น ขับเสมหะ

ดอก แก้ลม บำรุงหัวใจ แก้ไข้

ใบใช้ในการทำสาด (เสื่อ)