E-DUANG : พลวัตร แห่ง เทคโนโลยี กับ จินตภาพ การเมือง

หากมองจากการเคลื่อนตัวของ”เทคโนโลยี”ระดับโลก อัตราเร่งต่อ การเปลี่ยนแปลงสังคมดำเนินไปด้วยความเร็วสูงอย่างยิ่งยวด

ไม่เพียงแต่การเข้ามาของ”รถไฟฟ้า”

มีความเชื่อมั่นสูงเป็นอย่างมากว่ารถที่ใช้พลังผลิตจากฟอส ซิลจะค่อยๆอำลาจากไป

และ “รถไฟฟ้า”จะค่อยเข้ามาแทนที่

การพัฒนา”ปัญญาประดิษฐ์”จะทำให้ “หุ่นยนต์”เข้ามาแสดงบทบาทมากยิ่งขึ้น

ทั้งหมดนั้นเป็นพลวัตของ”เทคโนโลยี”

คำถามก็คือ การปรากฏขึ้นของ”เทคโนโลยี”อันถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่จะส่งผลสะเทือนต่อสังคมและการเมืองมากน้อย เพียงใด

 

ปรากฎการณ์หนึ่งที่เสนอให้สังคมต้อง”สำเหนียก”ด้วยความรอบคอบและสุขุมมากเป็นพิเศษ

นั่นก็คือ การเสนอตัวเป็น “นายกรัฐมนตรี”

สังคมเริ่มเห็นอย่างเด่นชัดกับความพยายามของพรรคอนา คตใหม่ในการเสนอ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ขึ้นมาเป็นตัวเลือกซึ่งมากด้วยความสดใส เปี่ยมด้วยความหวัง

ขณะเดียวกัน ก็มีการเคลื่อนไหวของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน

แผ่พลานุภาพแห่ง”พลังดูด”ในทางการเมือง

ประกาศเป้าหมายอย่างไม่ปิดบังอำพรางว่าต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สืบทอดอำนาจต่อไปผ่านตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เท่ากับ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ปฏิเสธความหมายที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พยายามอย่างเต็มเรี่ยวแรง

นี่คือการปะทะระหว่าง”ใหม่”กับ”เก่า”

 

หากมองโลกอย่างประสานกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ เทคโนโลยี

ก็อาจฝากความหวังอยู่ที่ “พรรคอนาคตใหม่”

ขณะเดียวกัน หากมองโลกอย่างย้อนกลับไปสู่ยุคแห่งรัฐประหารก่อนรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ก็ต้องเกาะกุมอยู่กับการ เคลื่อนไหวของ”กลุ่มสามมิตร”

นี่คือ โลกในจินตนาการระหว่าง”เก่า”กับ”ใหม่”