ที่มา | มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 20 - 26 กรกฎาคม 2561 |
---|---|
คอลัมน์ | มองไทยใหม่ |
ผู้เขียน | นิตยา กาญจนะวรรณ [email protected] |
เผยแพร่ |
ได้เคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เขียน al นั้น แต่เดิมมาคนไทยมักจะถอดเป็น อัล หรือ ออล เช่น central = เซ็นทรัล capital = แคปปิตอล
ต่อมาเมื่อมีหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษจากราชบัณฑิตยสถานเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ ก็มีตารางเทียบเสียงสระไว้ดังนี้
การแทนเสียงในตารางข้างต้นนี้ จึงสอดคล้องกับเสียงที่เคยนิยมกันมาก่อน คำว่า central เทียบได้กับคำว่า aluminium คำว่า capital ก็เทียบได้กับคำว่า football เราจึงมีคำอย่าง ดิจิตอล (digital) ไฟนอล (final) ปรากฏขึ้นในภาษาไทย
อันที่จริง หลักเกณฑ์ พ.ศ.๒๕๓๒ ได้ระบุไว้แล้วว่า
“สระ ให้ถอดตามการออกเสียงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ โดยเทียบเสียงสระภาษาไทยตามตารางเทียบเสียงสระภาษาอังกฤษ”
ข้อความที่อาจจะเป็นปัญหาก็คือ “ให้ถอดตามการออกเสียงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ” แต่เมื่อตรวจดูพจนานุกรมภาษาอังกฤษก็ไม่รู้ว่าส่วนไหนเป็นเรื่องเสียง จึงหันไปถอดเสียงโดยเทียบกับตัวเขียนโดยตรง digital จึงถอดเป็น ดิจิทัล final จึงถอดเป็น ไฟนัล
ต่อมาเมื่อคนไทยคุ้นเคยกับเสียงภาษาอังกฤษมากขึ้น ก็ได้รู้ว่ารูปการเขียนที่ปรากฏอยู่ในภาษาไทยนั้นไม่ตรงกับเสียง จึงมีการเสนอหลักเกณฑ์ใหม่โดยระบุว่าให้ตรวจสัญลักษณ์ที่แสดงเสียง สัญลักษณ์นี้คือสิ่งที่เรียกว่า สัทอักษร (phonetic alphabet) ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคย เช่น
สัทอักษรอาจจะไม่ใช่ปัญหาสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษรุ่นใหม่ เพราะได้ข่าวว่าเขาเริ่มเรียนกันแล้ว นอกจากนี้การฟังเสียงจริงก็ทำได้ง่าย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือ ความไม่คุ้นเคยกับรูปการเขียนที่ใกล้กับภาษาเดิมมากกว่าการลากเข้าสู่ภาษาไทย
คงต้องใช้เวลาสักพัก ไม่รู้ว่าจะถึง ๒๐ ปีไหม