บทความพิเศษ / โชคชัย บุณยะกลัมพ/AI คัดแยกภาพที่ผ่านการตัดต่อ ตรวจจับเป็นของปลอมหรือไม่

บทความพิเศษ / โชคชัย บุณยะกลัมพ

 

AI คัดแยกภาพที่ผ่านการตัดต่อ

ตรวจจับเป็นของปลอมหรือไม่

 

ซอฟต์แวร์ตัดต่อภาพที่มีอยู่มากมายในตอนนี้ เปลี่ยนรูปภาพต่างๆ ให้เป็นภาพแสนสนุก ตัดต่อตัวคุณเข้ากับเซเลบชื่อดัง หรือเดินทางไปได้ทั่วทุกมุมโลกได้ด้วยการทำภาพตัดแปะ สลับหน้ากับเพื่อนหรือสลับหน้ากับดาราดังและสัตว์น่ารักๆ ได้ดั่งใจ
โปรแกรมที่มีความสามารถขั้นสูงอย่าง Adobe Photoshop สำหรับซอฟต์แวร์ตัดต่อขั้นสูง Photoshop คือเบอร์หนึ่งของการตัดต่ออย่างแท้จริง
โปรแกรมมีแถบเครื่องมือใช้งานมากมาย พร้อมทั้งเลเยอร์ เอฟเฟ็กต์และส่วนผสานการทำงานกับโปรแกรมอื่นๆ ของ Adobe
ทำให้คุณสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างไม่จำกัด ทั้งนี้ โปรแกรมนี้ค่อนข้างซับซ้อน

ตัวอย่างของภาพที่มีการปลอมแปลงที่ผ่านการตรวจสอบความแตกต่าง เทคนิคการปลอมแปลงเนื้อหา จากบนลงล่างเป็นแบบทดสอบ แสดง manipulations splicing คัดลอกย้ายและ remova

จากการที่มีกระแสรูปปลอมที่อ้างว่าเป็นรูปของเหตุการณ์ ระบาดหนักในอินเตอร์เน็ต
การคัดกรองตั้งข้อสังเกตว่ารูปใดควรเชื่อ รูปใดไม่ควรเชื่อ ลองดูรูปแล้วคิดด้วยตัวเราเองสิ นี่มันดูดีเกินกว่าจะเป็นจริงหรือไม่
มันถ่ายได้สมบูรณ์แบบเกินไปไหม
รู้สึกว่ามีอะไรแปลกๆ หรือเปล่า
ซึ่งบางครั้งข่าวสารเหล่านั้นอาจไม่ถูกต้อง ถูกบิดเบือน แต่งเติมก็เป็นได้ เพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม
หากเราไม่อยากตกเป็นเหยื่อของบุคคลเหล่านั้นในสังคมออนไลน์ สิ่งที่เราต้องทำก็คือ “ตั้งสติ” ให้ดี สงสัยเอาไว้ก่อน
จากนั้นก็ตรวจเช็กข่าวสารให้แน่ชัด

ภาพประกอบของการปลอมแปลงสิ่งประดิษฐ์ เป็นพื้นที่ขยายสำหรับกรอบสีแดงในตอนแรก ให้เห็นความละเอียดของแสงเงาผู้เล่นเบสบอลกับการปรากฏเห็นของการปลอมแปลง

ภาพบุคคลสำคัญต่างๆ เพื่อเอามาหลอกลวงกันว่าคนคนนั้นไปถ่ายภาพวาบหวิว หรือแต่งเติมให้เกิดความเสียหาย
ยิ่งภาพที่มีความสำคัญทางการเมืองด้วยแล้วจะเกิดความเสียหายอย่างมากมาย ดังตัวอย่างช่วงที่ผ่านมา
ทำให้เราคิดว่าจะมีวิธีไหนบ้างหนอที่จะช่วยให้เราตรวจสอบว่าภาพเหล่านั้นเป็นของจริง หรือของปลอมที่เกิดจากการ retouch ขึ้นมา
เราไม่สามารถเช็กได้ด้วยตาเปล่าว่าภาพที่เห็นคือภาพจริง ไม่ได้ดูดัดแปลงขึ้นมา

นักวิจัยจาก University of Maryland และทีม Adobe พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ AI ขึ้นมาเพื่อตรวจคัดกรองภาพที่ผ่านการตัดต่อด้วยโปรแกรมขั้นสูงอย่างโฟโต้ช็อปมาช่วยตรวจสอบรูปภาพที่ถูกตัดต่อด้วยโปรแกรมโฟโต้ช็อปหรือเปล่า
นักวิจัยคาดว่าจะช่วยลดปัญหาการปลอมแปลงรูปบนสื่ออินเตอร์เน็ตได้
ทีมนักวิจัยของ Adobe ได้วิจัยงานชิ้นนี้ในโครงการนิติวิทยาศาตร์ DARPA Media Forensics โดยมีรัฐบาลให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือในวงการ Digital media และเพื่อต่อสู้ กับข่าวปลอมๆ ในสื่อต่างๆ บนโลกออนไลน์
อันที่จริงโปรแกรมตรวจสอบการตัดต่อภาพก็มีอยู่แล้ว
แต่เทคโนโลยีใหม่นี้ที่นำปัญญาประดิษฐ์ AI ง่ายกว่า เร็วกว่า แม่นยำกว่า โดยหลักๆ จะตรวจจับการ Cloning, การเพิ่มวัตถุเข้าไปในภาพ และลบสิ่งต่างๆ ในภาพออก
นักพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เผยในงานประชุมวิสัยทัศน์ด้านคอมพิวเตอร์ CVPR ได้นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และแมชชีนเลิร์นนิ่ง ได้ป้อนข้อมูลภาพปลอมจำนวนมากเพื่อสอน AI ให้แยกให้ออกว่าภาพแบบไหนคือภาพปลอม
ทีมวิจัยได้ฝึก AI ให้รู้จักประเภทการตัดต่อที่ใช้ในรูปแบบและส่วนที่ถูกดัดแปลง ซึ่ง Adobe เผยว่า ปัญญาประดิษฐ์ AI สามารถทำการแยกได้ภายในไม่กี่วินาที โดยใช้เทคนิคบางอย่าง
เช่น ดูการเปลี่ยนค่าของสีแดง เขียว น้ำเงิน ในระดับพิกเซล อีกทั้งยังดู noise เพื่อหาความไม่สอดคล้องกันในภาพที่มักเกิดขึ้นในภาพที่ถูกตัดต่อดัดแปลงขึ้นมา
เมื่อใดก็ตามที่มีคนดัดแปลงรูป ก็มักจะทิ้งตัวบ่งชี้ไว้เบื้องหลังว่าภาพนั้นได้รับการตัดต่อ ข้อมูล metadata และลายน้ำช่วยบอกแหล่งที่มาของภาพ และสามารถดูปัจจัยต่างๆ เช่น ขอบในระดับพิกเซลเพื่อหาความไม่สม่ำเสมอ
ยกตัวอย่างเช่น หากสีในภาพนั้นดูไม่สม่ำเสมอ เครื่องมือก็จะคัดแยกไว้ แต่หากใช้ AI เข้ามาช่วย ก็จะระบุภาพที่ผ่านการตัดต่อมาได้รวดเร็วขึ้นและน่าเชื่อถือมากขึ้น

โดยผลการวิจัยขั้นต้นระบุว่า แมชชีนเลิร์นนิ่งจะตรวจสอบภาพแบบพื้นฐาน 3 ขั้นตอนคือ การนำภาพมาประกบกัน การตัดบางส่วนของภาพออกไป และการโคลนนิ่ง ซึ่งจะคัดลอกสิ่งที่อยู่ในภาพไปวางไว้ในส่วนอื่นๆ ของภาพเดียวกัน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตรวจสอบดิจิตอลจะค้นหาร่องรอยที่ซ้อนทับกันในเลเยอร์ของรูปภาพนั้นๆ เพื่อค้นหาสิ่งที่ผิดปกติ และจะป้อนข้อมูลการตัดต่อรูปภาพเข้าไปให้ระบบแมชชีนเลิร์นนิ่งได้จดจำและปัญญาประดิษฐ์ AI ได้เรียนรู้
การใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI หาภาพปลอมนั้นเป็นวิธีที่ Adobe ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและความจริงแก่สื่อดิจิตอลในโลกออนไลน์ ซึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการที่ Facebook และ Google ได้เพิ่มความพยายามที่จะต่อสู้กับข่าวลวงข่าวปลอมทั้งหลาย

ภาพประกอบของเครือข่าย R-CNN ที่มีความเร็วสูงสองสตรีมของเรา สตรีม RGB จะจำลองภาพวัตถุปลอมแปลง เช่น ภาพผิดปกติ ความคมชัดสูงตามขอบวัตถุและการจำกัดขอบเขตกล่องไว้ที่พื้นจริง

Adobe กล่าวว่า โปรเจ็กต์นี้ยังอยู่ในช่วงทดลองระยะแรก
Adobe ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะสานต่อโปรเจ็กต์นี้ และพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยระบุตัวตน พร้อมยืนยันความถูกต้องของดิจิตอลมีเดียในอนาคต
Adobe หมายเหตุไว้ว่า เทคนิคเหล่านี้อาจยังไม่สมบูรณ์แบบนัก ถึงแม้ว่ามันจะทำให้การจัดการควบคุมผลของการดัดแปลงสื่อดิจิตอลนั้นเป็นไปได้และมีตัวเลือกมากขึ้น และมันก็ช่วยพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของภาพนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ทีมงานก็ทำงานร่วมไปกับ AI ในการตรวจดูภาพประเภทอื่นๆ เช่น ภาพที่เกิดจากการอัดเมื่อไฟล์ถูกบันทึกซ้ำๆ
ต้องยอมรับว่า Photoshop เป็นเครื่องมือที่ช่วยตกแต่งภาพและสร้างผลงานศิลป์ที่น่าจดจำได้ดีอย่างไม่ต้องสงสัย แต่คนมักใช้งานในทางที่เป็นพิษภัยต่อสังคมและความน่าเชื่อถือ และดูเหมือนว่า Adobe ก็ต้องการที่จะเสนอวิธีแก้ไขให้มีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบันถ้าเกิดเราถูกหลอก จะรู้สึกแย่รวมถึงอาจมีความผิดได้ ดังนั้น ก่อนที่เราจะแชร์ภาพถ่ายให้ทุกคนที่เรารู้จักทุกครั้ง พวกเราควรตื่นกลัว หยุด ลองใช้เวลาฉุกคิดสักนิด แล้วตรวจสอบดูให้ดีก่อน
ปัญหาอาจจะไม่เกิด