4 ผลพลอยได้ จากการที่มหาวิทยาลัย ติดอันดับโลก

เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระบุ

เมื่อปี 2558 ไทม์ ไฮเยอร์ไทม์ส ไฮเออร์ เอ็ดดูเคชั่น หน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยเปิดเผยข้อมูลลักษณะพื้นฐานของมหาวิทยาลัยที่ติด 200 อันดับแรกเทียบกับมหาวิทยาลัยที่ติด 400 อันดับแรก

เห็นข้อมูลเหล่านี้แล้วพอจะเดาออกได้ไม่ยากว่าการจะดันมหาวิทยาลัยของไทยให้ขึ้นติด 200 อันดับแรกเป็นเรื่องหืดขึ้นคอขนาดไหน

สำหรับประเทศไทยที่ความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจยังไม่เข้มแข็ง ธุรกิจส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีการวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง หากเราจะเดินทางนี้จริง ทางเลือกในระยะสั้นก็เหลืออยู่ คือการพึ่งพาเงินภาษีของประชาชน

ผลดีจากการมีมหาวิทยาลัยระดับโลกพอสรุปได้ว่า

(1) จะกลายเป็นมาตรฐานอ้างอิงเพื่อให้มหาวิทยาลัยอื่นในประเทศได้ทำตาม (2) สามารถดึงดูดนักศึกษาเก่งๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการเรียนในระดับปริญญาโทและเอกที่มีการวิจัยอย่างเข้มข้น (3) เมื่อมีนักศึกษาต่างชาติมาเรียน หมายถึงเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาในประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาว (4) การที่มีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาใช้ชีวิตในประเทศไทยทำให้รู้สึกคุ้นเคยกับสินค้าและวัฒนธรรมของเรา

นอกจากนี้ การมีนักศึกษาต่างชาติมาเรียน ถือเป็นโอกาสที่นักศึกษาไทยจะได้เรียนรู้วัฒนธรรม ความคิดความอ่านของชาติอื่นที่อาจพัฒนาไปเป็นความสัมพันธ์ในเชิงธุรกิจได้ในอนาคต