“ต้อง กวีวุฒิ” | รายการธุรกิจพอดีคำ The Weekly : เสิร์ฟบทเรียน-หลักคิดทำธุรกิจให้พ้นวิกฤต

ออกอากาศมาได้ระยะหนึ่งแล้ว สำหรับรายการ ธุรกิจพอดีคำ The Weekly รายการที่ย่อยธุรกิจให้เข้าใจง่ายๆ เต็มอิ่มครบเครื่อง ได้มุมคิด ทุกวันเสาร์ 10.00 น. ทางเพจมติชนสุดสัปดาห์ และทางเพจอื่นๆ ในเครือมติชน รวมทั้งสิ้น 20 EP

แต่ละตอนล้วนมี “บทเรียน” และ “ไอเดีย” ต่างๆ ให้คนที่ฝันหรือต้องการกำลังใจในการทำธุรกิจ ได้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน รวมทั้งต่อยอดจากประสบการณ์จากผู้บริหารที่มาเผยเคล็ดลับการพาองค์กรข้ามช่วงที่ยากที่สุดนี้ไปด้วยกัน

โดยรายการมี 4 ช่วง ทั้งออเดิร์ฟ-อาหารจานหลัก-เมนูจานพิเศษ และตบท้ายด้วยของหวาน เป็น 4 ช่วงที่เต็มอิ่มในการเติมอาหารสมองสุดสัปดาห์

“ต้อง-กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร” รับหน้าที่มาเป็นพิธีกรถ่ายทอดมุมคิดและพาไปสัมภาษณ์-สัมผัสตัวตนอันเข้มข้นของ “เจ้าของธุรกิจ” 10 ประเภท ทั้งอสังหาฯ-อาหาร-ร้านสะดวกซื้อ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใกล้ตัวทุกคน

ธุรกิจพอดีคำ EP.4 | คุยกับ “Otteri wash and dry” ร้านสะดวกซัก

https://www.facebook.com/127655640595124/videos/760186061214553

พิษโควิด-โอกาส

กวีวุฒิมีมุมมองต่อการดำเนินธุรกิจ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ทุกแห่งต้องเจอเหมือนกันหมด ว่า

“ห้วงที่เป็นวิกฤตสำหรับใครๆ ในวิกฤตนั้นมันมีโอกาสสำหรับใครบางคนเสมอ ซึ่งอันนี้มันเป็นเรื่องจริง เป็นปกติ เป็น Fact เลย เช่น อาจจะเป็นวิกฤตสำหรับคนที่ขายของแบบปกติ แต่มันก็จะเป็นโอกาสสำหรับคนขายของออนไลน์ อาจจะเป็นวิกฤตสำหรับคนที่ทำธุรกิจด้านการศึกษามหาวิทยาลัย ไม่มีคนไปเรียน แต่คนที่หันมาทำ class ออนไลน์มากขึ้น เพราะฉะนั้น ในวิกฤต ถ้าเราพูดในเชิงธุรกิจ มันเป็นสภาพที่ผู้บริโภคเปลี่ยน เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยน มันก็จะกลายเป็นโอกาสสำหรับคนใหม่ๆ ที่จะเข้ามา เพราะฉะนั้น ในวิกฤตมันมีโอกาสเสมอ”

“อย่างคนทำธุรกิจ ต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความจริง การที่อยู่ดีๆ เงินหายไป ไม่มีกำลังซื้อ มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น หมายความว่าทุกคนเป็นเหมือนกันหมด ก็ต้องมีคนที่แก้ปัญหา”

“เพราะฉะนั้น เมื่อกำลังซื้อหายไป เราก็ต้องจัดการ เป็นเรื่องของการบริหารกระแสเงินสด รวมถึงการวางแผนกลยุทธ์แล้วว่าอนาคตมีอะไรที่เปลี่ยนบ้าง แล้วอะไรที่จะไม่เปลี่ยน เราก็วางแผนบนพื้นฐานของสิ่งนั้น”

กระแสธุรกิจที่ต้องจับหลังจากนี้

ส่วนแรกคงหนีไม่พ้นเรื่องออนไลน์อยู่แล้ว พูดเหมือนทำง่ายแต่จริงๆ แล้วไม่ง่ายเลย ธุรกิจที่จะปรับตัวได้อันหนึ่งคือเรื่องของการศึกษา ที่ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในห้องเรียนเสมอ ตอนนี้คนก็โดนบังคับให้อยู่ที่บ้านช่วงหนึ่ง คนก็เริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปโดยที่เขาไม่รู้ตัว

เพราะฉะนั้น เรื่องของออนไลน์ผมมองว่ายังไงก็ต้องมา

ส่วนที่ 2 คนควรรู้เรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยจัดการ คนเริ่มเห็นแล้วว่าการที่มีคนจำนวนมาก มันมี Fixed Cost อยู่ องค์กรหลายแห่งทุกวันนี้เริ่มพูดเรื่องดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชั่นมากขึ้นเยอะ แต่พูดแล้วไม่ได้ทำ สุดท้ายแล้วเมื่อพูดถึงดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชั่น หลักการจริงๆ จะเกี่ยวกับเรื่องของ “คน” ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญ ก็จะเริ่มมีการพูดคุยว่าจริงๆ แล้วควรให้คนไปทำอย่างอื่นได้หรือไม่

ของที่เป็น Operation เป็นเรื่องซ้ำซ้อน เราจะสามารถทำให้มันเป็นอัตโนมัติได้อย่างไรบ้าง เพราะว่าหุ่นยนต์หรือซอฟต์แวร์มันไม่เหนื่อย มันทำได้ แบบสเกลใหญ่ โอกาสพวกนี้เมื่อก่อนมีอยู่แล้ว แต่คนไม่ค่อยเข้าไป Take Action

แต่ ณ ตอนนี้เราจะเริ่มเห็นองค์กรที่เข้าไปจับค่อนข้างเยอะ

หลายองค์กรตั้งโจทย์re size ช่วงวิกฤต?

ผมว่าต้องกลับไปที่ “เป้าหมายขององค์กรคืออะไร” ถ้าเป้าหมายขององค์กรคือการทำกำไร เอาง่ายๆ ก่อนเลยว่าไปดูรายรับ-รายจ่าย ถ้าคุณลดรายจ่ายอย่างเดียวก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่คำถามคือคุณสร้างรายรับได้มากเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่?

ถ้าคุณลดขนาดองค์กรแล้วสร้าง in come เข้ามาเพิ่มจริงไหม ถ้าจริง คุณต้องลองไปดูว่า คุณทำอย่างไร?

ถ้าคุณใช้เทคโนโลยีก็อาจจะโอเค แต่ถ้าคุณบอกว่าคุณจะลดขนาดองค์กรอย่างเดียว โดยคุณไม่สนใจขาของรายรับเลย รายรับมันก็จะลดลงไปด้วย พอมันลดไปเรื่อยๆ ทั้งคู่มันก็จบเหมือนกันอยู่ดี

หรือบางองค์กรเขาอยากจะสร้างธุรกิจใหม่ๆ เขาลดไซซ์ขององค์กร เปลี่ยนคน คนเดิมไปทำงานใหม่ ที่อาจจะสร้างอนาคตสำหรับบริษัทได้ เปลี่ยน Business Model ใหม่ๆ วางต้นแบบธุรกิจใหม่ๆ ก็อาจจะเป็นอีกวิธีหนึ่ง

เพราะฉะนั้นแล้วไม่ได้ผิด ในการ resize องค์กร มันตอบโจทย์ในเรื่องของต้นทุน แต่มันไม่ได้ตอบโจทย์ในเรื่องของโอกาสในธุรกิจใหม่ๆ

EP.01 คุยเรื่องอสังหาฯ :

https://www.facebook.com/127655640595124/videos/332994041394098

ทักษะที่ควรมีหลังจากนี้

อีกหนึ่งปัญหาที่หลายคนในสังคมห่วงคือ “เด็กจบใหม่” หรือ “คนทำงานทั่วไป” ที่กลัวความไม่แน่นอน ทักษะควรจะต้องสำคัญที่สุดคือ “การเรียนรู้ของใหม่” คนเราอาจจะกลัวได้ แต่เราต้องมีความสามารถที่จะเรียนรู้ของใหม่ ซึ่งต้องบอกว่ายุคนี้ ความรู้มีอยู่เยอะมากๆ คำถามคือคุณรู้หรือไม่ว่าคุณต้องการอะไร? แล้วก็ไปหาสิ่งนั้นได้หรือไม่ แค่นี้ก็เรียนรู้ของใหม่แล้ว โดยไม่ยึดติดกับของเก่า

อย่างในอดีตเราเรียน Marketing ในมหาวิทยาลัยอาจจะเป็นแบบหนึ่ง

แต่วันนี้ออกมาแล้วเป็นอีกแบบเลย ฉะนั้น อยู่ที่คุณมีความสามารถหรือไม่ที่จะวิ่งเข้าไปหาความรู้เหล่านั้นว่าคุณต้องการอะไรแล้วก็ทดลองทำมันดู ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ฉะนั้น ความสามารถในการเรียนรู้ของใหม่สำคัญอย่างมาก!

ต้องบอกว่าทุกคนโดนดิสรัปต์หมด แม้จะทันตั้งตัวหรือไม่ได้ตั้งตัว แต่ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่ว่า ตั้งตัวอย่างไร ถ้าไม่ตั้งตัวแล้วล้มหายตายจากไปนั่นก็เป็น Fact เหมือนกัน แน่นอนมันจะต้องมีธุรกิจที่จะต้องล้มหายตายจากไป ไม่ใช่ว่าธุรกิจทุกอย่างมันจะอยู่รอด แต่มันจะมีธุรกิจบางอย่างซึ่ง เริ่มมีโอกาสแล้วก็กลับมาได้ ซึ่งจริงๆ แล้วธุรกิจใหม่ๆ ที่เป็นคนตัวเล็กๆ ผมมองว่าจะมีโอกาสเยอะขึ้นด้วยซ้ำ วิกฤตทุกครั้งเป็นแบบนี้คือมันจะมีคู่แข่งน้อยลง แล้วคนใหม่ๆ ก็จะเข้ามาสู่ตลาดได้

ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติขององค์กรในยุคนี้คือเรากำลังสู้กับอะไรที่เราไม่รู้ ซึ่งถ้าเราต้องสู้กับอะไรที่เราไม่รู้ สิ่งสำคัญก็คือคุณต้อง “เกาะติดกับอนาคต” ที่เราไม่รู้ ฟังแล้วดูยากมากเลย แต่จริงๆ แล้ว มันไม่ยากนะ ถ้าเราพูดถึงในหลักการ Design Thinking วิธีการทำงานใหม่ๆ เกาะติดกับลูกค้า เกาะติดกับผู้บริโภค ว่าพฤติกรรมเขาเปลี่ยนไปอย่างไร พอเรารู้แล้วก็พยายามหา solution ให้กับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ฉะนั้น มันเป็นความสามารถในการเรียนรู้ของใหม่ให้กับลูกค้า อาจจะต้องนั่งคิดกันเยอะๆ นั่งประชุมกันในองค์กรอาจจะไม่เหมาะแล้ว อาจจะต้องหมั่นไปคุยกับลูกค้าบ่อยๆ

คือพวกคุณต้องทดลองไปเรื่อยๆ ว่าทำอย่างไรให้เราสามารถทดลองของใหม่ๆ กับเขาได้อยู่ใกล้กับลูกค้า จะเรียกล้มเหลวก็ได้ แต่ล้มเหลวเล็กๆ แล้วก็ค่อยๆ ปรับไปกับลูกค้า คุณอาจจะมองว่าต้องเจอความไม่แน่นอนเต็มไปหมดเลย

แต่สุดท้ายแล้วชื่อว่าธุรกิจทำเพื่อตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ถ้าคุณเข้าใจคนกลุ่มนั้นดีคุณก็จะหาโซลูชั่นใหม่ๆ ตอบโจทย์เขาได้ เพราะฉะนั้น มันไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้แค่ว่าคุณต้องกลับมาโฟกัส ที่ลูกค้าให้มากขึ้นกว่าเดิม

EP.02 คุยเรื่องเครื่องสำอาง : 

https://www.facebook.com/matichonweekly/videos/3680509461977457

 

ถ้าเด็กจบใหม่มาดูรายการนี้ อยากจะบอกอะไรเขา?

สําหรับผม ผมชอบคำว่า “ไม่เลือกงานไม่ยากจน”

ถามว่าเด็กจบใหม่ สิ่งที่คุณมีคุณค่าที่สุดคือ ช่วงอายุนี้เป็นช่วงของการเรียนรู้ มีองค์กรมากมายที่เขารับเด็กฝึกงาน หรือเขาจะรับคนเข้าไปโดยยอมลดเงินเดือน หรือคุณอยากจะเข้าไปเพราะอยากจะเรียนรู้งานจริงๆ

ถ้าคุณมีความคิดแบบนั้น เรื่องเงินมันก็จะตามมาทีหลัง คุณต้องการโอกาสในการสร้างผลงานก่อน

เด็กยุคใหม่ต้องเอาประสบการณ์มาก่อน ถ้ามีองค์กรที่ยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับเรื่องประสบการณ์ให้คุณ แม้เงิน-ค่าใช้จ่ายอาจจะไม่ได้เยอะ คุณจะเลือกหรือไม่ แล้วคุณจะเลือกไปถึงเมื่อไหร่ เพราะว่าเวลาที่หายไปที่คุณไม่ได้ทำงาน คือเวลาที่คุณได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้น้อยลง มันเป็นเรื่องของทัศนคติแล้วว่า แน่นอนตลาดมันเป็นอย่างนี้ แต่ว่าถ้าเพื่อนคุณเขาเริ่มทำงานไปแล้วเขาอาจจะไม่ได้เงินเดือนที่เยอะ แต่เขาจะได้เรียนรู้อะไรเยอะ และยิ่งการที่พวกคุณได้เข้าไปอยู่ในองค์กรต่างๆ ในช่วงนี้ ถือว่าดีมาก เพราะช่วงนี้องค์กรเป็นเรื่องของการปรับตัวเยอะ คุณจะได้เรียนรู้อะไรจากช่วงนี้เยอะมาก

เพราะฉะนั้นแล้วอย่าเลือกงาน

ผมเองก็อยากจะเป็นกำลังใจให้ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือว่า คุณต้องเข้าใจก่อนว่าสภาพมันเป็นแบบนี้ สิ่งที่คุณทำได้ดีที่สุดในตอนนี้คือการเรียนรู้ของใหม่ๆ จากการอาสาตัวเองเข้าไปทำงาน

ชมรายการธุรกิจพอดีคำ The Weekly ย้อนหลัง

EP.03 คุยกับสุพจน์ เจ้าของโรงเบียร์

https://www.facebook.com/127655640595124/videos/820623322042144

รายการธุรกิจพอดีคำ The Weekly ออกอากาศทุกวันเสาร์ 10:00 น.

ที่เพจ Matichon Weekly – มติชนสุดสัปดาห์ และเพจอื่นในเครือมติชน