“ซีพีเอฟ” วางฐานหลักประกันความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ปลอดภัย-เพียงพอ เพื่อประชากรโลก

วิฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ระบาดอย่างรวดเร็ว สร้างความวิตกกังวล จนทำให้ภาครัฐต้องกลับมาใช้มาตรการเข้มงวดอีกครั้งเพื่อป้องกันและจำกัดการแพร่กระจายของโรคโดยนับตั้งแต่การระบาดรอบแรกเมื่อต้นปี 2563 เป็นต้นมา หลายประเทศประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร แต่สำหรับประเทศไทย แม้ต้องเผชิญกับการระบาดของโควิด-19  แต่ยังมีปริมาณอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ  

ท่ามกลางความช่วยเหลือที่ส่งต่อสู่สังคมบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)  หรือ ซีพีเอฟ ผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำ ซึ่งดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ “ครัวของโลกที่ยั่งยืน” ภาคเอกชนที่มุ่งมั่นทำหน้าที่ผลิตอาหารคุณภาพและปลอดภัยดูแลปริมาณการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในภาวะปกติและวิกฤต เป็นบริษัทแรกๆ ที่ส่งความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องตามนโยบายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ เครือซีพีดำริโดยประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ และยังได้ยกระดับความปลอดภัยขั้นสูงสุดของพนักงานในไลน์การผลิตทั้งหมดของบริษัทเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค 

ซีพีเอฟ ส่งมอบอาหารในโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ให้แก่ทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และครอบครัว เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้เฝ้าระวัง กลุ่มเปราะบาง แรงงานข้ามชาติ ผู้มีรายได้น้อย ฯลฯ เรียกได้ว่าผู้เดือดร้อนและผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยแม้ในภาวะวิกฤต นอกจากนี้ เครือซีพีและซีพีเอฟ ยังได้เดินหน้าผนึกกำลังสนับสนุนอาหารให้โรงพยาบาลสนาม ซี่งประธานคณะผู้บริหารซีพีเอฟ “ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ” ย้ำอยู่เสมอว่า ซีพีเอฟ ตระหนักถึงบทบาทของบริษัทในฐานะพลเมืองที่ดีของประเทศ (Good CorporateCitizen) ทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ร่วมพัฒนาประเทศและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน 

ในการดำเนินธุรกิจของซีพีเอฟ ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน 3 เสาหลัก อาหารมั่นคงสังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่ ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SustainableDevelopment Goals : SDGs) ข้อ 2 ขจัดความอดอยากและสร้างความมั่นคงทางอาหาร ข้อ 3 ส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน ข้อ 9 ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และนวัตกรรม ข้อ 12 สร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และ ข้อ 17 สร้างความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน   

ภายใต้เสาหลักอาหารมั่นคง ซีพีเอฟมีผลการดำเนินงาน ปี 2563 เป็นไปตามเป้าหมาย คือ ด้านนวัตกรรมอาหาร ร้อยละ 35 ของผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มุุ่งเน้นสุขโภชนาการ สุขภาพ และสุขภาวะที่ดีด้านสวัสดิภาพสัตว์ ร้อยละ 100 ของสัตว์ได้รับการเลี้ยงดูที่สอดคล้องกับหลักอิสระ5 ประการ และด้านการส่งเสริมการเข้าถึงอาหารและความรู้เพื่อการบริโภคอย่างยั่งยืน บริษัทฯ ส่งเสริมเด็ก เยาวชน และผู้บริโภค มากกว่า1.4 ล้านราย สามารถเข้าถึงอาหารและการเรียนรู้หรือทักษะเกี่ยวกับอาหาร ความรู้ด้านการโภชนาการและการบริโภคอย่างยั่งยืน เป็นต้น

ที่สำคัญ ตลอดกระบวนการผลิตต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อมุ่งสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ นำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าควบคู่กับการลดการเกิดของเสีย พร้อมกันนี้ ซีพีเอฟร่วมบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ดำเนินโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้อง ป่าบกและป่าชายเลน และส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการ ผ่านการดำเนินโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” โครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” และโครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศทำให้ในปี 2563 สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทยได้ถึง 10,079 ไร่ และปัจจุบันได้สานต่อโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องผืนป่า โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐดำเนินการสู่ระยะที่สอง  

ซีพีเอฟ  ยังคงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์ความยั่งยืนสู่เป้าหมายปี 2573 (ปี 2030) เน้นสร้างนวัตกรรมอาหาร อาทิ ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช (Plant -based Meat) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภค พร้อมทั้งเดินหน้าภารกิจผลิตอาหารคุณภาพด้วยมาตรฐานที่ปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่สร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก และสร้างหลักประกันให้แก่ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าจะมีปริมาณอาหารบริโภคอย่างเพียงพอในทุกสถานการณ์